fbpx

🌈พ่อแม่ควรรู้ ก่อนพาลูกไปฉีดวัคซีน
😘ลูกเราต้องฉีดวัคซีนตัวไหนบ้าง?
🤔จำเป็นต้องฉีดวัคซีนเสริมมั้ย ?
🤔ฉีดวัคซีนเสริมกันไปทำไม? เปลืองเงินมั้ย?
🤔”วัคซีนแบบไม่มีไข้” ฉีดแล้วไม่มีไข้จริงหรือ??

❤️คลิป วัคซีนในเด็กที่พ่อแม่ควรรู้ https://youtu.be/VTKhwBjupMw
❤️คลิป เรื่อง วัคซีนเสริม https://youtu.be/UZPE4tfejcE

⭐️ตามปกติที่อายุ 2 เดือน ตามนโยบายกระทรวงสาธารณสุขเด็กจะได้
✅หยอดวัคซีนโปลิโอ 1 โด๊ส
✅หยอดโรต้า 1 โด๊ส
✅ฉีดวัคซีนเข็มรวมป้องกันโรคตับอักเสบบี-คอตีบ-ไอกรน(ชนิดทั้งเซลล์)-บาดทะยัก -ฮิบ
1 เข็ม
…….เป็นวัคซีนมีประสิทธิภาพดี และ สามารถรับบริการฟรี ! ที่สถานพยาบาลของรัฐ
……แต่มีข้อเสีย คือ เป็นวัคซีนไอกรนชนิด ‘ทั้งเซลล์ ‘ ทำให้มีผลข้างเคียงจากวัคซีน คือ บวมแดงบริเวณที่ฉีด มีไข้ ซึ่งพบได้บ่อยมากกว่า 50%
……ส่วนน้อยอาจมีไข้สูงมากจนอาจเป็นไข้ชัก หรืออาจมีร้องมาก ร้องนานไม่หยุด ซึ่งอาการเหล่านี้สร้างความกังวลใจให้คุณพ่อคุณแม่อยู่มากทีเดียว😱😱😱
🌈เห็นบางคนฉีด #วัคซีนแบบไม่มีไข้ คืออะไรคะ?
👩‍⚕️วัคซีนไม่มีไข้ที่อายุ 2-4-6 เดือนนั้น ก็คือวัคซีนรวมตับอักเสบบี-คอตีบ-ไอกรน(ชนิดไร้เซลล์)-บาดทะยัก-โปลิโอ-ฮิบ
🌟วัคซีนรวมดังกล่าวมีข้อแตกต่างจากวัคซีนฟรี ดังนี้
✔️ในเข็มเดียวนี้รวมวัคซีนโปลิโอไว้ด้วย
จึง #ไม่ต้องหยอดโปลิโอแยก
✔️ในวัคซีนบรรจุเชื้อไอกรนเป็น #ชนิดไร้เซลล์ ดังนั้นจะพบ #ผลข้างเคียงน้อยกว่า วัคซีนชนิดทั้งเซลล์มาก
😄แต่ เป็นวัคซีนเสริม (จ่ายเงินเสริมเอง) ราคาหลักพัน …..
ปัจจุบันวัคซีนแบบไม่มีไข้ ที่พ่อแม่ชอบเรียกกัน มีแบบทั้ง รวม 4 โรค, 5 โรค หรือ6 โรค
มี 2 ยี่ห้อ ( นำเข้าจาก ยุโรป )
……มีประสิทธิภาพดีในการป้องกันโรค ผลข้างเคียงน้อยกว่าเมื่อเทียบกับวัคซีนของกระทรวง….
……แต่ว่า ก็ยังสามารถพบอาการข้างเคียงได้อยู่ เช่น ไข้ต่ำๆ จะพบได้ตั้งแต่ประมาณ 1 ใน 10 คน
ส่วนไข้สูงกว่า 39.5 องศาก็สามารถพบได้ประมาณ 1 ใน 100 คน
🌈ความเข้าใจของคุณพ่อคุณแม่ หลายๆคนคิดว่า ลูกเราแข็งแรงดี กินนมแม่ คลอดครบกำหนด ไม่จำเป็นต้องฉีดวัคซีนเสริม
…. ลองอ่านกันแล้ว พิจารณาต่อนะคะ
🌈วัคซีนตัวหลัก หรือวัคซีนพื้นฐานในประเทศไทย
ที่เด็กทุกคน #ต้องฉีด ได้แก่
✔️วัคซีนวัณโรค (BCG) จะฉีดเมื่อแรกเกิด
✔️วัคซีนตับอักเสบบี (HB) ควรฉีดตั้งแต่แรกเกิดและ 2 เดือน, 6 เดือน (ทั้งหมด 3 เข็ม)
✔️วัคซีนรวมคอตีบ-บาดทะยัก-ไอกรน(DTP)ฉีดตั้งแต่ 2, 4, 6 เดือน 1 ปี 6 เดือน และ 4 ปี และฉีดเพื่อกระตุ้นการทำงานของวัคซีนอีกครั้งในช่วงอายุ 11-12 ปี (dT)
✔️วัคซีนโปลิโอ (OPV) ควรให้ตามช่วงอายุตั้งแต่ 2, 4, 6 เดือน 1 ปี 6 เดือน และ 4 ปี
✔️โรคอุจจาระร่วงโรต้า (Rota) หยอดที่ 2,4 เดือน
✔️วัคซีนรวมหัด-คางทูม-หัดเยอรมัน (MMR) ควรฉีดตามช่วงอายุคือ 9 เดือน และ 1 ปี 6 เดือน
✔️วัคซีนไข้สมองอักเสบเจอี (JE) ควรฉีดตามช่วงอายุคือ 9-12 เดือน และ 2 ปี 6 เดือน
✔️วัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูก หรือวัคซีนเอชพีวี (HPV)สามารถฉีดได้ตั้งแต่ อายุ 9 ปีขึ้นไป เฉพาะกรณีเด็กผู้หญิง เท่านั้น !!
🌈วัคซีนเสริม ในประเทศไทย
คือ วัคซีนที่มีประสิทธิภาพดี มีประโยชน์ในการป้องกันโรค
……..แต่!!ไม่ได้อยู่ในแผนงานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคของกระทรวงสาธารณสุข (วัคซีนพื้นฐาน) เพราะ เกินงบ5555
😀พ่อแม่ อาจจะต้องจ่ายเงินเสริมเอง
(ไม่ได้อยู่ในแผนประเทศไทย แต่อยู่ในแผนประเทศอื่นนะคะ เช่น พม่า อเมริกา ยุโรป)
พม่า ….เค้ามี วัคซีนเสริมในโปรแกรมของเค้าจริงๆ นะคะ!!
.
⭐️วัคซีนเสริม ที่มี ก็คือ
✔️วัคซีนเสริมป้องกันโรค คอตีบ-บาดทะยัก-ไอกรน ชนิดไร้เซลล์ (ตามที่มี ในคลินิกและโรงพยาบาลเอกชน หรือที่เรียกว่าแบบไม่มีไข้)
✔️วัคซีนเสริมป้องกันโรคโปลิโอชนิดฉีด (IPV) ฉีดช่วง 2,4 และ 6 เดือน
✔️วัคซีนเสริมป้องกันโรคอีสุกอีใส(Varicella) ควรฉีดที่ อายุ 1 ปีขึ้นไป
และกระตุ้นภูมิอีกครั้งตอน 4-6 ปี
✔️วัคซีนเสริมป้องกันไวรัสตับอักเสบ เอ (HepA) ควรฉีดที่ อายุ 1 ปีขึ้นไป
✔️วัคซีนเสริมป้องกันไอพีดี (IPD หรือนิวโมคอคคัส คอนจูเกต) จะมีทั้งแบบ 10 สายพันธ์ และ 13 สายพันธ์ ให้เลือก ฉีดตอนอายุ 2,4,6 เดือน และ 12-15เดือน
✔️วัคซีนเสริมป้องกันไข้หวัดใหญ่ ควรฉีดในเด็กปีละครั้ง ช่วงก่อนฤดูฝน โดยสามารถฉีดในเด็กอายุ 6 เดือนขึ้นไป (ให้ ฟรี แค่ บางกลุ่ม เช่น ผู้สูงอายุ คนที่มีโรคประจำตัว)
✔️วัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูก หรือวัคซีนเอชพีวี (HPV)ในเด็กผู้ชาย !! ตั้งแต่ 9 ปี ขึ้นไป
(แม้ลูกชายจะไม่มีมดลูก แต่มันก็สามารถป้องกันโรคหูดหงอนไก่ และมะเร็งทวารหนักได้)
.
วัคซีนเสริม ทุกตัว ผ่านการศึกษาวิจัยมาแล้ว ว่า มีประโยชน์ มากกกว่า ไม่ได้ฉีดแน่นอน ถึงแม้เป็นโรคก็จะลดความรุนแรงของโรคลงได้
(การฉีดวัคซีนไม่ได้แปลว่า ไม่เป็นโรค แต่จะช่วยให้ลูกเรามีภูมิต้านทานบ้าง ทำให้โรคไม่รุนแรง )
.
การที่เด็ก 1 คน ป่วย ยกตัวอย่างง่ายๆ เช่น ท้องเสียจากโรต้าไวรัส นอน 1 คืน ใน รพ.รัฐบาลถึงแม้จะ ฟรี ค่ารักษา ค่ายา แต่ ที่ต้องเสียคืองานและรายได้ของพ่อแม่ เท่าไหร่ก็ว่าไป แต่ที่รัฐบาลต้องเสียคือ 2-4 พันบาท/เคส
แต่ถ้าลูกเรานอนโรงพยาบาลเอกชนก็ตกประมาณคืนละ 2 หมื่นบาท
ยังไม่รวมค่าขวัญเสียของลูกตอนโดยแทงเข็มเปิดเส้น และตอนลูกโดยเสาน้ำเกลืกกักกันอาณาเขตไว้ไม่ให้ไปไหน
.
บางคนคิดว่า วัคซีนสุกใส ไม่จำเป็น แต่หมออยากบอกว่า ถ้าเป็นแล้วเกิดภาวะแทรกซ้อน มันรุนแรงมากได้ เช่น สมองอักเสบ ตับอักเสบ ปปดอักเสบ ยิ่งถ้าเป็นช่วงท้องสามเดือนแรกยิ่งอันตราย อาจจะทำให้ทารกพิการได้ !!!!
.
รู้อย่างนี้แล้ว ถ้ามีโอกาสหรือพอมีกำลังทรัพย์ส่วนตัว เสริมวัคซีนให้ลูกน่าจะดีกว่า รอลูกป่วยต้องนอนโรงพยาบาลหรือมีปัญหาแทรกซ้อนนะคะ
.
วัคซีนไม่ว่าตัวใดก็มีผลข้างเคียงได้ แต่มากน้อยต่างกันไป ดังนั้น หลังได้รับวัคซีนเราควรทราบวิธีสังเกตและดูแลอาการผิดปกติต่างๆ เบื้องต้นอย่างถูกต้อง ดังนี้ค่ะ

🌟ข้อปฏิบัติภายหลังการฉีดวัคซีน +อาการผิดปกติหลังฉีดวัคซีนที่พบได้
1.มีไข้ ให้เช็ดตัวลดไข้ด้วยน้ำอุ่นและกินยาลดไข้ สามารถหายไปภายใน 2-3 วัน
2.มีอาการบวม แดง ร้อน บริเวณที่ฉีด ให้ประคบเย็นเพื่อบรรเทาอาการ สามารถหายไปภายใน 1-3 วัน
3.ภายใน 24 ชั่วโมงหลังฉีด เด็กอาจมีอาการร้องกวน จากการปวดและไม่สุขสบายบริเวณที่ฉีดได้
4.เด็กที่เคยมีอาการรุนแรงหลังฉีดวัคซีน เช่น ไข้สูงมาก ชัก กรุณาบอกแพทย์/พยาบาล ก่อนฉีดวัคซีนทุกครั้ง
5.หากเด็กไม่สบายในวันนัด ควรเลื่อนออกไปจนกว่าจะหาย และในรายที่ไม่สามารถมาตามนัด ควรพาเด็กมาฉีดวัคซีนให้ครบ แม้จะเว้นระยะเวลาไปนาน
‼️ต้องรีบมาพบแพทย์

กรณี หลังฉีดวัคซีนแล้วมีอาการ
1. มีอาการชัก อาจร่วมกับมีไข้
2.ผิวหนังมีผื่นแดง ตุ่มพุพอง
3.หายใจมีเสียงวีด
4.บวมที่หน้าหรือบริเวณอื่น
5.มีอาการไข้ คอแข็ง หรือมีอาการทางสมอง เช่น มึนงง สับสน เกร็งชัก ไม่รู้สึกตัว
6.กล้ามเนื้ออ่อนแรงอย่างเฉียบพลัน
7.มีอาการอื่นที่รุนแรง เกิดขึ้นหลังรับวัคซีน
😍ฉีดวัคซีนก่อนป่วย
ดีกว่าป่วยแล้วต้องมาปวดหัวกับค่ารักษาพยาบาลกันนะคะ
🌟 #วัคซีนโควิด ยัง #ไม่อนุญาต
ให้ใช้ในเด็กอายุต่ำกว่า 18 ปีนะคะ
✅พาลูกมาฉีดวัคซีนหลักและเสริม
เท่าที่มีก่อนน้า จุ๊บ

#ด้วยรักจากหมอมะเหมี่ยว
แพทย์หญิงสุทธิชา อู่เงิน
กุมารแพทย์
#วัคซีนเด็ก #คลินิกเด็ก #ศูนย์วัคซีน
#Bambini #BabyWellnessCenter