fbpx

#จุกหลอก (รวมถึงจุกดูดนม) ควรใช้ดีมั้ย???

#ดูดขวดนมนานๆ ก็เหมือนใช้จุกหลอกนานๆ นั่นแหละ ( แนะนำเลิกขวดนม 1-11/2 ปี นะคะ )
🌈 #ข้อเสียของการใช้จุกหลอก!!
👉 การดูดจุกสัมพันธ์กับการทำให้ทารก #หยุดดื่มนมแม่จากเต้า ภายใน 3 เดือนแรก
……..แต่ มีการศึกษาอีกหลาย ๆ งาน ที่แสดงให้เห็นว่า ถ้าหากมารดาและทารกมีทักษะการให้และ #ดูดนมจากเต้าได้ดีตั้งแต่ในช่วง 1 เดือนแรก การใช้จุกหลอกก็ไม่ได้ส่งผลต่อการหยุดดื่นนมแม่จากเต้าของทารก
👉ทำให้การสบฟันผิดปกติ (malocclusion)
…..จากการศึกษา พบว่า เด็กที่มีการดูดจุกหลอกหรือดูดนิ้ว ‘นานเกินกว่า 4 ปี’
พบปัญหาการสบฟันผิดปกติ 71%,
……ถ้าหยุดดูดนิ้วหลัง 3 ปี พบปัญหาการสบฟัน 32%
……แต่หากหยุดดูดก่อนอายุ 2 ปี โอกาสการเกิดปัญหาการสบฟันลดลงเหลือ 14% เท่านั้น
👉เพิ่มโอกาสเกิดหูชั้นกลางอักเสบ (Otitis media) ได้สูง
……..การดูดจุกหลอกทำให้มีการทำงานที่ผิดปกติของ Eustachian tube (ท่อปรับความดันหูชั้นกลาง) ร่วมกับการมีการไหลย้อนของสารคัดหลังบริเวณหลังโพรงจมูกเข้าสู่หูชั้นกลาง ซึ่งเรามักพบปัญหานี้ได้บ่อยในเด็กช่วงอายุ 6-12 เดือน
🌈จุกหลอกหรือ Pacifier มีประโยชน์ คือ
👉ช่วย #บรรเทาอาการปวดและความกังวลในเด็กอายุน้อยกว่า 6 เดือน
ที่เกิดจากการทำหัตถการทางการแพทย์ (minor procedures) เช่น การฉีดวัคซีน การเจาะเลือด [AAP 2004]
👉สำหรับทารกที่คลอดก่อนกำหนดที่นอนรักษาตัวในโรงพยาบาล การดูดจุกหลอกเป็น #การฝึกฝนการดูดอย่างหนึ่ง ทำให้ทารกคลอดก่อนกำหนดที่ช่วงแรกต้องใส่สายให้อาหารสามารถเปลี่ยนมาเป็นการดูดนมได้เร็วกว่าทารกที่ไม่ได้ใช้จุกหลอก
…….และทำให้ระยะเวลาในการนอนรพ.ของทารกที่คลอดก่อนกำหนดสั้นลงได้
…… แต่ การใช้จุกหลอก ‘ไม่ได้ช่วยทำให้น้ำหนักขึ้นได้ดีกว่า หรือมีพฤติกรรมที่ดีกว่า ‘
เมื่อเทียบกับกลุ่มทารกคลอดก่อนกำหนดที่ไม่ได้ใช้จุกหลอก
👉#ลดความเสี่ยงต่อการเกิด Sudden infant death syndrome หรือ #โรคไหลตายในเด็กทารก
🌈คำแนะนำจาก AAP, AAPD และ ADA เรื่องการใช้จุกหลอก และการดูดจุก กับผู้ปกครองดังนี้
👶 ทารกที่คลอด #ก่อนกำหนด สามารถใช้จุกหลอก เพื่อลดอาการปวดในขณะทำหัตถการทางการแพทย์ ลดระยะเวลาการนอนรพ. และทำให้เปลี่ยนเป็นการดูดนมขวดได้เร็วขึ้น
👶 สำหรับเด็กทารก #คลอดครบกำหนด ที่ดูดนมจากเต้า แนะนำให้มีการสร้างทักษะการให้นมแม่จากเต้าของแม่และการดูดนมของลูกให้ดี โดยเฉพาะในช่วง 1 เดือนแรก
……ผู้ปกครองสามารถใช้จุกหลอกได้หลังจากนี้จนถึงอายุ 6 เดือน สำหรับการลดปวด และลดการเกิดภาวะไหลตายในทารก
👶 ในช่วงอายุ 6 เดือน ถึง 2 ปี แนะนำให้ #หยุดหรือให้ดูดจุกหลอกให้น้อยที่สุด เพื่อลดโอกาสการติดเชื้อในหูชั้นกลาง
👶 หากยังดูดต่อเนื่องจนอายุมากกว่า 2 ปีขึ้นไป การดูดจุกหลอกมีโอกาส #เกิดปัญหาการสบฟันที่ผิดปกติได้
❌เด็กอายุ 4 ปีขึ้นไป ไม่ควรใช้จุกหลอก หรือ ดูดจุกนมแล้ว
🙏 เมื่อ ลูกเริ่ม ดูดนมจากแก้วหัดดื่มได้ หรือ จากกล่องได้ ควรเลิก ขวดนม ที่ อายุ 1 -1/2 ปี ด้วยนะคะ
#เชื่อหมอเถอะหมอเรียนมา 😁😃

❤️ด้วยรักจากหมอมะเหมี่ยวอ
แพทย์หญิงสุทธิชา อู่เงิน
กุมารแพทย์
#คลินิกเด็ก #วัคซีนเด็ก #รักษาเด็ก
#ตรวจพัฒนาการเด็ก
#Bambini #BabyWellness #Pattaya