fbpx

แม่จ๋า : ทำ Time out กับลูกแล้ว ไม่เห็นดีเลยคะ ?? (#$%&*!@#$%#$ ซีนความกังวลมาเต็ม )

⭐️หมอมะเหมี่ยว : คุณแม่ทำ time out ยังไงคะ

🤔แม่จ๋า : ทำตลอดเลยค่ะ ถ้าลูกทำพฤติกรรมไม่ดี เช่น กรีดร้องโวยวายเวลาไม่ได้ดั่งใจ ตอนนี้ลูกอายุ 3 ขวบแล้วก็ทำนาน 3 นาที ปล่อยให้ เค้านั่งเงียบๆคนเดียว ตามที่อ่านมา ไม่เห็นได้ผลเลยค่ะ ลูกยิ่งต่อต้านก้าวร้าว และกรีดร้องไม่หยุด

⭐️หมอมะเหมี่ยว : แล้ว เคยทำ Time-in น้องมั้ยคะ ?

🤔แม่จ๋า +พ่อจ๋า : …………….สตั้น 30 วินาที ……………..เอิ่ม ! คุณหมอคะ Time -in คืออะไรคะ

⭐️หมอมะเหมี่ยว : ………….. สตั้น 30 วินาที ……………..Time -in คือเวลาคุณภาพของ เวลาที่ดีร่วมๆ กัน ในครอบครัว เช่น เล่นด้วยกัน กอดกัน อ่านนิทานด้วยกัน ซึ่งจะทำให้เด็กมีความรู้สึกว่าตนเองมีคุณค่า มีคนรัก เขาถึงจะมีพฤติกรรมที่ดีหลังทำ time out ค่ะ (ลองคิดง่ายๆ ถ้าเจ้านายเรา ออกกฎอะไรมาสักอย่างหนึ่ง เราจะอยากทำตามก็ต่อเมื่อเรารู้สึกว่าเจ้านายคนนี้เห็นคุณค่าเรา หรือมีสัมพันธภาพที่ดีกันมาก่อน) ดังนั้นไม่ใช่ว่าใครก็ได้ที่จะมา time out เด็กนะคะ

🤔แม่จ๋า : งั้นไม่ควรทำ Time -out แล้วใช่มั้ยคะ ?

⭐️หมอมะเหมี่ยว : เราต้องเข้าใจ Time-in และ Time -out ว่าจะใช้ยังไง ให้เหมาะกับพฤติกรรมลูกเราค่ะ

🤔แม่จ๋า : (#$%&*!@#$%#$ หน้าเริ่มงงสุดๆ )…………………………..

⭐️หมอมะเหมี่ยว : สำหรับ Time-out เป็นวิธีหนึ่งในการปรับพฤติกรรม โดยการเอาสิ่งที่เด็กชอบออก นั่นคือ เด็กจะไม่ได้รับความสนใจจากใครเลย ไม่มีของเล่น ไม่มีอะไรให้ทำ ณ ขณะที่ time out อยู่ ช่วงอายุที่เหมาะสมใช้เมื่อลูกอายุประมาณ 1 ขวบครึ่งขึ้นไป เล็กกว่านั้นคงไม่รู้เรื่อง หากโตกว่านี้ลูกจะต่อต้านและจะไม่ได้ผล คุณพ่อคุณแม่จะต้องกำหนดเวลาล่วงหน้าว่าจะให้นั่งกี่นาที แต่ไม่ควรเกิน 15 นาทีในเด็กเล็ก โดยปกติจะไม่เกิน 5 นาที หรือจะให้เฉลี่ยคือประมาณ 1 นาทีต่ออายุ 1 ขวบค่ะ

🤔แม่จ๋า : แล้วที่แม่ทำ มันผิดตรงไหนคะ ???

⭐️หมอมะเหมี่ยว : ไม่ผิดค่ะ แต่อาจจะเกิดจากเรายังมี Time-in ไม่พอ และการใช้ Time out จะไม่ค่อยได้ผล โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับเด็กเล็ก และเด็กที่มีปัญหาด้านพฤติกรรมประเภทภาวะสมาธิสั้น งานวิจัยในช่วงหลังพบว่า การที่จะใช้วิธีการ Time out นั้นไม่ได้ส่งผลดีตามที่คิด และยังรวมไปถึงความรู้สึกขุ่นเคืองใจที่เกิดขึ้นจากการถูกจับแยกให้ไปนั่งอยู่คนเดียวก็ส่งผลร้ายต่อสภาพจิตใจที่ส่งผลต่อเนื่องไปถึงพัฒนาการด้านอารมณ์ด้วยเช่นเดียวกัน

🤔แม่จ๋า : แล้วอย่างนี้ ตอนนี้ ที่น้องอาละวาด ก้าวร้าวจนบ้านจะแตก แบบนี้ทำยังไงดีคะ แม่กลุ้มใจมากค่ะ

⭐️หมอมะเหมี่ยว : เราลองมาทำ Time-in กันมั้ย คะ

🤔แม่จ๋า : Time-in ทำยังไงคะ ว่ามาเลยค่ะ อยากทำแล้ว

⭐️หมอมะเหมี่ยว : Time in คือการแยกเด็กออกมาจากจุดเกิดเหตุ เช่นเดียวกับ Time out แต่ด้วยท่าทีที่นุ่มนวลกว่า ซึ่งจะแตกต่างจาก Time out ที่เป็นภาพของการแยกเพื่อลงโทษชัดเจน
การทำ Time in จะให้พ่อแม่อยู่ด้วย อาจกอด ปลอบ ทำให้เด็กสงบ ไม่รู้สึกถูกทอดทิ้ง หรือถูกลงโทษ ร่วมกับพ่อแม่เปิดโอกาส ให้เด็กได้พูดระบายความรู้สึก ในขณะเดียวกันก็สอนให้เด็กฝึกสงบสติอารมณ์ของตนเอง มีการพูดคุยถึงพฤติกรรมที่ควรทำ เช่น หากครั้งถัดไปหากมีอารมณ์เช่นนี้ควรมีพฤติกรรมอย่างไร สิ่งที่จะเกิดขึ้นคือ เด็กรับรู้ได้ว่า พ่อแม่เข้าใจอารมณ์และความต้องการตนเอง ไม่รู้สึกอับอายหรือหวาดกลัว มีสัมพันธภาพที่ดี สามารถเรียก Time in ว่า Positive Time out หรือ Time out เชิงบวก ซึ่งผู้ที่สนับสนุนการปรับพฤติกรรมโดยการทำ Time in กล่าวว่าการทำ Time in จะทำให้พฤติกรรมไม่พึงประสงค์ลดน้อยลง

🤔แม่จ๋า : Time-in ก็เหมือนเราสปอยลูกซิคะ ????

⭐️หมอมะเหมี่ยว : Time in มีข้อพิจารณาและควรระวังดัง คือ พ่อแม่ต้องมั่นใจว่า การทำ Time in ไม่ใช่การให้รางวัลเด็ก
และ อารมณ์ของพ่อแม่ในขณะที่จะทำ Time in ต้องสงบเพียงพอ ไม่เช่นนั้นหากเข้ามุม Time in เพื่อพูดคุย แต่เด็กยังโวยวายอยู่ อาจพูดคุยไม่เข้าใจกัน การแสดงอารมณ์โกรธใส่กันอาจยืดเยื้อยิ่งกว่าเดิม

🤔แม่จ๋า : แล้ว แบบนี้ เราจะใช้ time-in ตอนไหน time-out ตอนไหนคะ งง ค่ะ!??

⭐️หมอมะเหมี่ยว : Time in หรือ Time out คงต้องเลือกตามสถานการณ์ค่ะ เช่น อาละวาดตีน้องต้อง Time out แต่แม่ใช้ให้เก็บของเล่น ร้องไห้ไม่ยอมเก็บ อาจใช้ Time in แต่สิ่งที่สำคัญมากกว่าทั้ง Time in และ Time out คือ “Tune in” ค่ะ

🤔แม่จ๋า : คุณหมอคะ Time-in ยังงงอยู่เลย หมอให้หนูทำ Tune-in อีก

⭐️หมอมะเหมี่ยว : “Tune in” คือการให้ความสนใจกับลูกในช่วงที่เป็นเวลาดี ๆ อารมณ์ดี ให้ความสนใจในพฤติกรรมดี แม้ว่าเพียงเล็กน้อย เช่น วันนี้หนูทำตัวน่ารักมากเลย ไม่แกล้ง ไม่ตีน้องเลย เป็นต้น ลูกจะยิ่งทำพฤติกรรมดี เพราะรู้สึกดีที่พ่อแม่ชม รวมถึง ช่วงเวลาคุณภาพของพ่อแม่ลูก โดยการทำกิจกรรมต่าง ๆ ร่วมกัน พูดคุยเรื่องราวต่าง ๆ ในชีวิตประจำวัน สิ่งเหล่านี้จะช่วยทำให้สัมพันธภาพดีขึ้น จะทำให้เด็กอยากร่วมมือกับพ่อแม่มากขึ้น ส่งผลให้พฤติกรรมไม่พึงประสงค์ลดลงได้อย่างชัดเจน

#ด้วยรักจากหมอมะเหมี่ยว
#timeout
#timein