fbpx

🌈ลูกติดหวานแล้วจะเกิดอะไรขึ้น?

👩‍⚕️ถ้าเด็กกินของหวาน จะเสี่ยงทำให้เด็กติดอกติดใจรสชาติหวานนั้นจนโต นอกจากนี้เด็กอาจ #เสี่ยงฟันผุ และอาจจะส่งผลให้เด็กเป็น #โรคเรื้อรัง เช่น โรคหัวใจ เบาหวาน ไขมันในเลือดสูง ได้
คนส่วนใหญ่ มักคิดว่า ของหวานกับเด็กมักเป็นของคู่กัน ไม่ว่า จะเป็น คุกกี้ เค้ก ลูกอม น้ำหวาน นมเปรี้ยว ไอศครีม แม้กระทั่งน้ำผลไม้…….ของหวานดังกล่าว

❌ไม่แนะนำให้ในเด็ก ต่ำกว่า 2 ปี

กรี๊ดดดดดดด !!
👩‍⚕️จริงๆ แล้ว ตาม คำแนะนำ ของทั้งกุมารแพทย์ไทยและทั่วโลก
❌ #ไม่แนะนำ ให้เด็กกินหวาน
❌#ไม่ใส่น้ำตาล ในอาหารเด็กน้อยกว่า 2 ปี
❌ไม่แนะนำให้เด็กต่ำกว่า 1 ปี ดื่มน้ำผลไม้
👶🏻เด็กมากกว่า 1 ปี สามารถ ดื่มน้ำผลไม้ได้ ปริมาณ 4 ออนซ์ (120ซีซี/วัน) โดยจะต้องเป็นน้ำผลไม้ 100% #ไม่ใส่น้ำตาลและสารให้ความหวานใดๆ

✅แนะนำ ถ้าอยากให้ ลูกได้วิตามินจากผลไม้ แนะนำ ทานผลไม้เลยจร้า ไม่ใช่กินแค่น้ำผลไม้
นอกจากของหวานดังกล่าวแล้ว จะ ‘มีลับลวงพลาง’
ที่พ่อแม่อาจพลาดบ้าง เช่น นมผงในท้องตลาด นมผสมสำหรับเด็กเล็กกินหลังอายุ 6 เดือนส่วนใหญ่จะมี ‘รสหวาน’
ดังนั้น ก่อนเลือก นมให้ลูกให้อ่านฉลากก่อนนะจ้ะ
หรือแมิกระทั่งนมกล่องยูเอชทีของลูก บางแบบก็มีการเติมน้ำตาลลงไป

❤️รายละเอียดเรื่องนมกล่องในเด็ก 1 ปีขึ้นไป ตามอ่านลิงค์นี้นะคะ จะรู้ว่า น้ำตาลเยอะมาก ถ้าไม่ใช่รสจืด https://www.facebook.com/334548503939610/posts/662536401140817/?d=n

❗️ ถ้ามีการเติมน้ำตาล เพิ่มไปจากน้ำตาลธรรมชาติ
ไม่ว่าจะชื่อ #ซูโครส #กลูโคส #คอร์นไซรับ #น้ำผึ้ง

❌#ไม่ควรเลือกซื้อให้ลูกกิน

😱เครื่องดื่มที่บางคนคิดว่าใช้เลี้ยงเด็กได้ ปริมาณความหวานมาก
เช่น น้ำส้ม (20%)
นำ้อัดลม(17%)
นมเปรี้ยว (11%)
นม/นมกล่อง เติมน้ำตาล (9%)
ลูกจะมีโอกาส ติดรสหวานตั้งแต่เล็ก
😂ปริมาณน้ำตาลในเครื่องดื่มที่เหมาะสม
อยู่ ท่ี 5-7 %
(หมายถึงในเด็ก มากกว่า 2 ปี นะจ้ะ )
จากสถิติ ที่พบ ตอนนี้ มีเด็กเป็น โรคเบาหวาน และโรคอ้วนมากขึ้นทุกวัน …. อย่าให้เป็นลูกเราเลยนะคะ 💕 เด็กอ้วงน่ารัก ถ้าไม่อ้วงมาก😂
🤣ตอนนี้ ไม่ใช่แค่เด็ก นะจ้ะ ที่ไม่ควรกินหวาน ผู้ใหญ่ ก็เช่นกัน จ้า

#ด้วยรักจากหมอมะเหมี่ยว
แพทย์หญิงสุทธิชา อู่เงิน
กุมารแพทย์


อ้างอิงข้อมูลจาก National Health Service ประเทศอังกฤษ https://www.nhs.uk/conditions/pregnancy-and-baby/solid-foods-weaning/
และ ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์ แห่งประเทศไทย http://www.thaipediatrics.org/Media/media-20171010123052.pdf