fbpx

⭐️หลายๆ คน คงเคยได้ยิน เรื่อง สารอาหารบำรุง สมอง เช่น โอเมก้า (omega)
และตอนนี้ ในผลิตภัณฑ์อาหารต่างๆของเด็ก เช่น นม วิตามินต่างๆ มักใส่ omega ลงไปด้วย เพื่อ ดึงดูดให้เราเสียเงินซื้อ555
👩‍⚕️ Omega-3 (Alpha-linolenic acid) และ Omega-6 (linolenic acid)
#จำเป็นต้องรับจากการบริโภคอาหารเท่านั้น❗️ (มี omega ตัวเลขอื่นอีก จำ 2 เลขนี้พอ)

⭐️omega -3 มี สามชนิด คือ
✅ alpha-linolenic acid, (ALA)ที่พบใน #น้ำมันพืช เช่น น้ำมันรำข้าว น้ำมันคาโนล่า น้ำมันถั่วเหลือง
✅eicosapentaenoic acid (EPA) พบใน #น้ำมันสัตว์ (พวกปลาทะเล ที่มีไขมันเยอะ เช่น ปลาแซลมอน ปลาทูน่า ปลาเทราซ์ )
✅docosahexaenoic acid (DHA) พบใน #น้ำมันสัตว์ (พวกปลาทะเล ที่มีไขมันเยอะ เช่น ปลาแซลมอน ปลาทูน่า ปลาเทราซ์ )
😀เข้าเรื่อง น้ำมันปลา /น้ำมันตับปลา กันเลยนะจ้ะ
⭐️#เนื้อปลา -คือ #โปรตีน โดย � ร่างกายของคนเราจะต้องการโปรตีนแตกต่างกันไปแล้วแต่ช่วงวัย เช่น
👶🏻วัยเด็กจะต้องการโปรตีนสูง 1.2 – 1.5 กรัม ต่อ น้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม /วัน
👩‍🦰ในผู้ใหญ่ 0.8-1 กรัม ต่อ น้ำหนักตัว(กิโลกรัม)ต่อวัน
👉ซึ่ง แต่ละวันก็ควรบริโภคเนื้อสัตว์ชนิดอื่น ๆ ด้วย ไม่ใช่แค่ ปลา นะจ้ะ
⭐️#น้ำมันปลา / #น้ำมันตับปลา -คือ ไขมัน
แต่!!!! สองตัวนี้ #ต่างกันนะคะ
ตรง ขบวนการสกัด
⭐️น้ำมันปลา (fish) และน้ำมันตับปลา (cod liver oil) มีส่วนประกอบที่สำคัญ คือ โอเมก้า-3
ซึ่งเป็นกรดไขมันไม่อิ่มตัวที่จำเป็นต่อร่างกาย #ร่างกายไม่สามารถสร้างขึ้นเองได้
ได้แก่
✅ DHA -มีประโยชน์ต่อระบบบำรุงสมอง DHA เป็นส่วนประกอบหนึ่งของเนื้อเยื่อสมอง มีผลต่อหน้าที่การทำงานของสมองและการสร้างสารสื่อนำประสาทในสมอง
✅EPA- มีประโยชน์ต่อระบบ หลอดเลือดหัวใจ
❗️แต่สิ่งที่ต่างกัน คือ
👉น้ำมัน #ตับปลา จะมี วิตามิน A และ D เป็นส่วนประกอบอยู่ด้วย
👉 น้ำมันปลา จะไม่มีวิตามินทั้งสองชนิดเป็นส่วนประกอบ
⭐️น้ำมัน #ตับปลา (Cod Liver Oil) – เป็นน้ำมันที่ได้จาก #ตับปลาทะเล เป็นแหล่ง
✅วิตามินเอ ช่วยบำรุงผิวพรรณ
✅วิตามินดี ที่ช่วยเพิ่มการดูดซึมแคลเซียมเข้าสู่กระดูก
❗️หากรับประทานมากเกินขนาด อาจเกิดพิษจากการสะสมของวิตามินเอและดีซึ่งเป็นวิตามินที่ละลายในร่างกายส่วนที่เป็นไขมัน
⭐️#น้ำมันปลา มีกรดไมขัน (Fish oil) เป็นสารสกัดไขมันจาก #เนื้อ #หัว #หาง และ #หนังของ #ปลาทะเล (ปลาแซลมอน ปลาแมคคอเรล ปลาทูน่า)
⭐️ องค์การอนามัยโลกและหน่วยงานสาธารณสุขของหลายๆ ประเทศได้แนะนำขนาดการรับประทาน EPA + DHA ไว้ คือ
วันละ 300-500 มิลลิกรัม
สำหรับผู้ใหญ่สุขภาพดี ที่ไม่มีประวัติการเป็นโรคหรือความผิดปกติเกี่ยวกับหัวใจ
👩‍🦰ผู้หญิงตั้งครรภ์ และ ให้นมบุตร
❌ไม่ควรรับประทาน น้ำมัน #ตับปลา มากเกิน
(ไม่ควรบริโภค vitamin A มากกว่า 3000 mcg
และ vitamin D มากกว่า 100 mcg )
👶🏻ส่วนขนาดการรับประทานสำหรับเด็กเล็กนั้นยัง #ไม่มีคำแนะนำที่ชัดเจนระบุไว้
❗️ผลข้างเคียง จากการรับประทานน้ำมันปลาและน้ำมันตับปลา ได้แก่
1. ความเสี่ยงในการเกิด #เลือดออกเพิ่มขึ้น เนื่องจากสาร omega-3 ในน้ำมันปลาและน้ำมันตับปลามีคุณสมบัติในการต้านการเกาะกลุ่มของเกล็ดเลือดและทำให้เลือดหยุดไหลช้าลงได้
……..ดังนั้นอาจต้องระมัดระวังการรับประทานน้ำมันปลาหรือน้ำมันตับปลาในผู้ที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดเลือดออก เช่น ผู้สูงอายุ ผู้ที่ดื่มสุรามากๆ ผู้ที่มีแผลในกระเพาะอาหาร หรือผู้ที่รับประทานยาที่มีผลต่อการแข็งตัวของเลือด เช่น แอสไพริน หรือ วอร์ฟาริน (warfarin)
2. การรับประทานน้ำมันตับปลาในปริมาณมากๆ อาจเสี่ยงต่อการได้รับพิษจากวิตามิน A และ D ได้
3. ความดันโลหิตต่ำลง ต้องระมัดระวังในการรับประทานน้ำมันปลาหรือน้ำมันตับปลาสำหรับผู้ที่มีความดันโลหิตต่ำ
4. คลื่นไส้ ปวดท้อง ท้องเสีย รุนแรงของอาการจะขึ้นกับขนาดของการรับประทานน้ำมันปลา วิธีแก้ไข คือ รับประทานหลังอาหารทันทีและเริ่มรับประทานน้ำมันปลาในขนาดต่ำๆ ก่อน
❗️คุณพ่อคุณแม่รู้มั้ยคะ ว่า เรา #ไม่ได้จำเป็นต้องซื้อวิตามินเป็นขวดๆ มาให้ลูกกิน
แค่ เราทำอาหาร #ครบห้าหมู่ให้ ลูก
โดยเลือก ของดีมีประโยชน์ มาให้ลูกรับประทาน นั่นคือ ดีที่สุดค่ะ …คือ เลือกวัตถุดิบ อาหารที่มีสารอาหารจำเป็น แบบหลากหลาย ไม่ได้ให้กินซ้ำๆ เช่น กินปลาวนไป ก็ไม่ดีนะจ้ะ 😂 …..
เช่น อยากได้ omega ก็ทำเมนูปลา /ใส่น้ำมันพืช ในอาหาร
อยากได้ธาตุเหล็กก็ให้ลูกกินตับ/เลือด/เนื้อแดง/ไข่แดง
อยากได้ โคลีน (วิตามินบี) บำรุงสมอง ก็ให้ลูกกินผัก/ไข่แดง
👩‍⚕️พวกวิตามินเป็นขวดๆ เหมาะสำหรับ บางบ้านที่ลูกกินยาก กำลังปรัปพฤติกรรมการกินอยู่ …… น้ำหนักน้อย เด็กมีภาวะขาดสารอาหาร หรือวิตามิน
😍วันนี้ หมอมีภาพ ฉลาก วิตามินมาฝาก ด้วย จะเห็นได้ว่า เค้าใส่ omega เข้าไปบ้าง ในบางตัว บางวิตามินก็ เน้นสารอาหารตัวอื่น …. แนะนำ ปรึกษา กุมารแพทย์ ก่อนซื้อวิตามินให้ลูกทานนะคะ กินวิตามินเยอะไปก็มีโทษ ได้นะคะ
เช่น เลือดออกง่าย ตับอักเสบ
🥰จากที่บอก ว่า omega-3 ไม่ได้มีแค่ใน น้ำมันปลานะ มี #ในน้ำมันพืช ด้วย
(ใครที่ งง! ว่า จะใช้ น้ำมันอะไร ให้ลูกดี ระหว่าง น้ำมันมะกอก หรือ น้ำมันรำข้าว มาอ่านต่อโพสหน้า เรื่อง การเลือกน้ำมันปรุงอาหารให้ลูกนะคะ ) ……แอบกระซิบ !! ทุกคน จะต้อง surprise แน่ๆ

#ด้วยรักจากหมอมะเหมี่ยว
แพทย์หญิงสุทธิชา อู่เงิน
กุมารแพทย์

อ้างอิงข้อมูลจาก https://www.nccih.nih.gov/health/tips/things-to-know-about-omega-fatty-acids
7 Things to Know about Omega-3 Fatty Acids
อ้างอิงข้อมูล จาก น้ำมันตับปลา Cod Liver Oil
https://medlineplus.gov/druginfo/natural/1040.html
อ้างอิงข้อมูลจาก หน่วยคลังข้อมูลยา คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล https://pharmacy.mahidol.ac.th/dic/qa_full.php?id=1998