fbpx

🔥ผู้ใหญ่ที่กินเค็ม มีปัญหาต่อร่างกายได้ คือ ความดันโลหิตสูง , โรคไต และโรคสมอง
🔥ปัญหา ที่เกิดขึ้น จาก #เด็กกินเค็ม หรือกินโซเดียมมากเกินไป คือ
😭 #ความดันโลหิตสูง
ผู้ใหญ่กินเค็มแล้วความดันสูง เด็กก็เช่นกันค่ะ
ซึ่งถ้าความดันเลือดสูง ก็จะเพิ่มความเสี่ยงต่อ #โรคหัวใจและหลอดเลือดสมอง
ถึง 3 เท่า!!!!!!!
😭#กระดูกพรุน
เนื่องจาก การกินโซเดียมมากเกินไป จะทำให้ เพิ่มการขับออกของแคลเซียมทางปัสสาวะ
😭#อ้วน
เนื่องจาก การกินโซเดียมมาก ทำให้กระหายน้ำ และเด็กๆ มักกินน้ำหวานด้วย มันจึงทำให้อ้วนได้ง่ายๆจ้า
การกินอาหาร เค็มจัดหรือบริโภคเกลือโซเดียมสูงเป็นประจำเป็นปัญหาระดับชาติ !!
จากการสำรวจการบริโภค #เกลือ (NaCl)
ของคนไทยปี 2550 พบว่า
คนไทยกินเกลือเฉลี่ย 10.9+2.6 กรัม/วัน
โดยได้รับจากเครื่องปรุงรสต่างๆ มากถึง 8.0+2.6 กรัม
เมื่อเทียบเป็น #ปริมาณโซเดียม พบว่าประชากรไทยได้รับโซเดียมสูงถึง 4,351.7 มิลลิกรัมต่อคนต่อวัน ( ปกติไม่ควรเกิน 2,000 มิลลิกรัม/วัน )
ประเทศไทยมีเครื่องปรุง หลากหลายมาก ที่มี #โซเดียมสูง โดยเฉพาะเครื่องปรุงรสเค็ม ได้แก่ น้ำปลา น้ำปลาร้า กะปิ ซีอิ้วขาว เกลือ ผงชูรส และผงปรุงรสต่างๆ ( บางที #ของไม่เค็ม
ตอนนี้ก็มีโซเดียมนะจ้ะ เช่น พวกของแปรรูปต่างๆ )
เราในฐานะ พ่อแม่และผู้บริโภค ก่อนจะกินอะไรแนะนำ ดูฉลากนิดนึงก่อนตัดสินใจกินนะจ้ะ
🧂แล้วในแต่ละวัน ลูกและเรา ควรรับประทาน #เกลือ ได้แค่ไหน ?
👩‍⚕️หมอมีภาพเกลือให้ดู ประกอบ จะได้นึกภาพออก นะคะ ว่า ปริมาณเกลือ แต่ละวัย ต้องการไม่เกินเท่าไหร่ (Maximum Salt Intake)
ทารก 6 เดือนแรก เกลือ < 1 กรัม/วัน
(มีอยู่ในนมแม่/นมผง แล้ว ห้ามใส่อะไรเพิ่ม)
วัย 6-12 เดือน รับเกลือได้ไม่เกิน 1 กรัม/วัน
วัย 1 – 3 ปี รับเกลือได้ไม่เกิน 2 กรัม/วัน
วัย 4 – 6 ปี รับเกลือได้ไม่เกิน 3 กรัม/วัน
วัย 7-10 ปี รับเกลือได้ไม่เกิน 5 กรัม/วัน
วัย 11 ปีขึ้น รับเกลือได้ไม่เกิน 6 กรัม/วัน
ซึ่งถ้าอยากจะคำนวณปริมาณ ‘โซเดียม ‘
‘จากเกลือ’ ต้องคูณ 0.4 ไปอีกที เช่น
เด็ก 1 ปี บริโภคเกลือได้ มากที่สุด คือ 2กรัม/วัน หรือ 2000 มิลลิกรัม/วัน
คิดเป็นโซเดียม
คือ 2000 *0.4= 800 มิลลิกรัม/วัน
ผู้ใหญ่ กินเกลือ ได้ไม่เกินวันละ 1 ช้อนชา (5 กรัม/วัน หรือ 5000 มิลลิกรัม/วัน )
คิดเป็นโซเดียม
คือ 5000*0.4= 2000 มิลลิกรัม/วัน
🍝ในฉลากส่วนใหญ่ จะ บอก เป็น ปริมาณโซเดียม หน่วยมิลลิกรัมมาคร่า
🥘🍝🍲ในผู้ใหญ่ความต้องการสูงสุดของ #โซเดียม
ที่ร่างกายได้รับและไม่ทำให้เกิดอันตราย คือ 2,300 มิลลิกรัมต่อวัน หรือ
คิดเป็นเกลือป่นประมาณ 6 กรัม (1 ช้อนชา)
(ของเด็กดังข้างต้น )
🌈จากปัญหาที่กล่าวมา เราควรปลูกฝัง เรื่องรสชาติอาหาร ตั้งแต่เด็กๆ เป็นเรื่องสำคัญ เช่น ไม่เค็มจัด ไม่หวานจัด
😆ผู้ใหญ่กินเค็ม เด็กก็กินเค็ม
#เด็กเป็นกระจกสะท้อนพ่อแม่
🥬🥝🥒อาหารที่ควรเลือกให้เด็ก
✔️ควรเป็นของสดสะอาด เช่น ผัก ผลไม้สด
❌หลีกเลี่ยง ขนมกรุบกรอบ
❌ ควรหลีกเลี่ยง #อาหารแปรรูป และ #อาหารสำเร็จรูป เพราะอาจจะไม่เค็ม แต่ #โซเดียมสูงงงงง
เช่น แฮม ชีส ไส้กรอก นักเก็ต พิซซ่า ลูกชิ้น ซอสต่างๆหรืออื่นๆ ที่เด็ก ๆ ชอบทานกัน
มักมีเกลือแฝงอยู่ ……
🔥 1 ขวบปีแรก
❌❌❌ไม่ ไม่ ไม่ ปรุงอาหารใดๆ ให้เด็กนะคะ บางบ้าน แอบชิมอาหารลูกแล้ว มีการสบัดเกลือ ปลายมือลงไป ….มือใหญ่ มือเล็กเท่าไหร่ เราไม่รู้ แต่ที่รู้คือ เด็ก 1 ขวบปีแรก ไตยังทำงานได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ อาจเกิดปัญหาเกลือแร่ผิดปกติตามมา ได้
“โซเดียม” คือ สารที่จำเป็นต่อร่างกาย
ช่วยให้ระบบหมุนเวียนเลือดและระบบต่างๆในร่างกายทำงานได้
❗️ แต่….ปริมาณโซเดียมที่ร่างกายต้องการนั้น” ตามแต่ละช่วงวัยไม่เท่ากัน เกินไปมีโทษนะคะ
❗️เด็กเล็ก น้อยกว่า 1 ปี #ไม่ได้จำเป็นต้องใส่เกลือ/เครื่องปรุงเพิ่มในอาหาร จบคร่าา
👍อ้างอิงข้อมูล สำนักโภชนาการ กรมอนามัย
👍อ้างอิงข้อมูล ศูนย์เบาหวานศิริราช https://www.si.mahidol.ac.th/th/division/diabetes/admin/knowledges_files/5_44_1.pdf
👍อ้างอิงข้อมูลจาก http://www.worldactiononsalt.com/salthealth/children/
👍 อ้างอิงข้อมูล: NASEM National Academy of Sciences, Engineering and Medicine.
#ด้วยรักจากหมอมะเหมี่ยว
พญ.สุทธิชา อู่เงิน
กุมารแพทย์