fbpx

🤔ทำไมต้องให้ลูกนอนยาว
🤔ไม่ฝึกนอนยาวแล้วจะเป็นอะไรมั้ย
🤔เด็กแต่ละวัยควรนอนกี่ชั่วโมงถึงจะเพียงพอ
🤔ทำไมฝึกลูกนอนยาว ไม่ได้สักที
🤔เคล็ดลับ ฝึกลูกนอนยาว
(บอกก่อนนะคะ ว่ายาวหน่อยน้า แต่หมอตั้งใจรีวิวเรื่องนี้มากๆ เพื่อ พ่อ/แม่ลูกอ่อนนอนน้อย แฟนเพจ Bambini ทุกคน 🥰)
#ทำไมต้องนอนยาว ?
👩‍⚕️เพราะ การนอนที่เพียงพอ และมีคุณภาพ มีผล ต่อสมอง ร่างกาย จิตใจ ของเด็ก เนื่องจาก
การนอนหลับที่เพียงพอและเหมาะสม มีผลต่อการหลั่ง Growth Hormone ที่ช่วยให้ร่างกาย เจริญเติบโต เพิ่มส่วนสูง และซ่อมแซมส่วนที่ สึกหรอของร่างกาย
การนอนหลับ มี แบบตื้น +แบบลึก การที่เด็กนอนหลับลึก ช่วงหลับลึกนี้เอง จะมีการพัฒนาของสมอง และเซลล์ประสาท
🌈เด็ก 3 เดือนแรก จำเป็นต้องให้นมแม่ตามความต้องการของเด็กก่อน โดยดูจากสัญญาณหิวของลูก ( ขยับตัว, อ้าปาก, หันศีรษะเข้าหาหัวนม, เหยียดแขนขา, ขยับตัวมากขึ้น, เอามือเข้าปาก, ร้องไห้, ถีบแขน ถีบขา, ร้องแบบน้ำดำ หน้าแดง ) และให้เข้านอนเมื่อไหร่ก็ได้ถ้าเห็นว่าลูกง่วง
.
แต่ คุณแม่ต้องรู้ไว้นะคะ ว่า การที่ลูกร้องไห้ ไม่ได้แปลว่าลูกหิวเสมอไป! หลังกินนมอิ่ม คุณหมอฝากอุ้มให้เด็กเรอสัก 15-30 นาที เพื่อเด็กจะได้ไม่จุกแน่นท้องและหลับสบาย
.
และเรา จะเริ่มฝึกเรื่องการนอน คือ กำหนดเวลาการนอนว่า กี่โมง และการนอนกลางวัน ของลูก เมื่อ ตอน 4 เดือน ขึ้นไปค่ะ
>>> เรามาเตรียมพร้อม และวางแผนฝึกลูกกันได้เลยตั้งแต่ 4 เดือน นะคะ
🌈เด็กวัย 4 เดือน ขึ้นไป เป็น วัยที่สามารถฝึกนอนยาวได้ โดยเด็กเค้าจะนอนได้นานขึ้นและตื่นนานขึ้น โดยเค้าอาจตื่นตอนกลางคืน ประมาณ 1-3 คร้ัง และ นอนตอนกลางวัน ประมาณ 2-3 รอบ
*หลังอายุ 4 เดือน นมมื้อดึก ไม่ได้จำเป็นสำหรับลูกแล้วในด้านการเจริญเติบโต ปล่อยให้เค้านอน เพื่อ วงจรการหลั่ง Growth hormone ตามธรรมชาติ เพื่อสมองและร่างกายระยะยาวดีกว่าค่ะ
⭐️ระยะเวลาการนอนหลับ ตามวัย ดังนี้
✔️วัยแรกเกิด (แรกคลอด – 3 เดือน)
ควรนอน 14-17 ชั่วโมง
✔️วัยทารก (4 เดือน – 1 ปี)
ควรนอน 12-15 ชั่วโมง
* ค่อยๆลดเวลานอนตอนเย็นช่วง 5 โมงเย็นลง
✔️วัยเตาะแตะ (1-2 ปี)
ควรนอน 11-14 ชั่วโมง
*ไม่ควรนอนช่วงเย็น
✔️วัยก่อนเข้าเรียน (3-5 ปี)
ควรนอน 10-13 ชั่วโมง
👩‍⚕️8 สาเหตุ ที่มักพบ ว่า
ทำให้ #ลูกนอนยาวไม่ได้
(ถ้าใครมี ตามนี้ รีบแก้กันก่อนนะคะ )
1. ลูกนอนตื่นสาย : ตื่นหลัง 8 โมงเช้า หรือ
เข้านอนไม่เป็นเวลา คร่าวๆ
#เด็กไม่ควรนอนหลัง 3 ทุ่ม และ ไม่ว่าจะนอนดึกแค่ไหนก็ควรปลุกตื่นก่อน 8 โมงเช้า
เพื่อให้นาฬิกาชีวภาพทำงานได้ตามปกติ
(นาฬิกาชีวภาพทำงานตามแสงสว่าง)
2. ไม่มีความแตกต่างระหว่างกลางวันและกลางคืน เช่น บางบ้าน สว่างตลอดเวลาทั้งกลางวันและกลางคืน ทำให้ ฮอร์โมเมลาโทนินไม่หลั่ง และนาฬิกาชีวภาพทำงานไม่ดี
3. พ่อแม่นอนไม่เป็นเวลา ลูกเลยนอนไม่เป็นเวลาด้วย บางทีพ่อแม่อาจจะต้องออกไป ทำงานนอกบ้านกลางวัน กลับมาค่ำแล้ว เลยมาเล่นกับลูกก่อนนอนเยอะไปหน่อย อาจจะเป็นสาเหตุให้ลูกสนุกอยู่ไม่อยากนอน แนะนำ ให้เวลาคุณภาพก่อนนอน เพียง 30 นาที กอดลูก พูดคุยกับลูก เล่านิทานให้ฟัง เท่านี้ก็เพียงพอคร่า
4. ดูทีวี เล่นมือถือ หรือ ทำกิจกรรมที่เร้าใจมาก ก่อนเข้านอน ….เด็กกำลังสนุกอยู่เลยไม่อยากนอนคร่า
5. ยังเลิกมื้อดึกไม่ได้!!!! ( พยายามจัดเวลากินให้ดี มื้อก่อนนอนขออิ่มๆ) ใครยังเลิกมื้อดึกไม่ได้ตามไปอ่าน https://www.facebook.com/334548503939610/posts/653000472094410/?d=n
6. ลูกไม่เคยฝึกการนอนด้วยตัวเอง
*เด็ก #มีเงื่อนไขในการนอน
เช่น ต้องมีคนอุ้ม ต้องกอดหมี ติดขวด/ติดเต้าแม่ต้องได้ดูดถึงจะหลับ
(ถ้าไม่มีสิ่งเหล่านี้ เด็กจะไม่สามารถหลับเองได้ และถ้าเด็กตื่นมากลางดึกอาจจะไม่สามารถหลับต่อได้ ) เด็กบางคนต้องอุ้มท่ายืนเท่านั้นถึงจะหลับก็มี….เพราะเด็กชินแบบนี้มานานไงละคะ
…ถ้า ลูก เราเป็น แบบต้องมีเงื่อนไขดังกล่าวถึงจะนอนได้ แนะนำ
👉หากิจกรรมทดแทน เช่น ร้องเพลงกล่อมนอน เล่านิทาน หรือ พูดคุยเรื่องราววันนี้ กับลูกด้วยท่าทีอ่อนโยน
👉หา อุปกรณ์ตัวช่วยนอน แทน เช่น ผ้าขนหนู ตุ๊กตานิ่มๆ ( มันจะเป็น สัญลักษณ์แทนการนอนของลูก พอเห็นแล้ว ลูก จะรู้ว่า ต้องนอนแล้ว)
7. ผู้ใหญ่ในบ้าน ฝึกไม่เหมือนกัน บางคนไม่ฝึก บางคนฝึก แนะนำ ทำแบบเดียวกันนะคะ เด็กจะได้ไม่สับสน ….และฝึกแบบ #สม่ำเสมอ
..จงเชื่อมั่นว่าลูกเราทำได้
8.เด็กบางคนนอนกลางวันมากเกินไป หรือ นอนในช่วงเวลาเย็นหลัง 5 โมงเย็น (ถ้าเด็กนอนในช่วงเย็น ควรปลุกขึ้นมาหลังจากนอนไป ได้แล้ว 30 นาที)
⭐️เทคนิคฝึกลูกนอนยาว 8 Do and 6 Don’t
✅8 สิ่งที่ #ควรทำ เมื่อ จะฝึกลูกนอนยาว
✔️จัดที่นอนลูก ให้เป็นสัดส่วน แยกจากพ่อแม่ ต้องเน้นเรื่องความปลอดภัย เช่น ตกเบาะ เตียง
(ส่วนเรื่องนอนห้องเดียวกันหรือไม่
สามารถปรัปดูตามวัย และวัฒนธรรรมของแต่ละบ้านได้นะคะ )
✔️ควรจัดเตียง หรือเบาะ ที่เด็กนอน ให้มีความปลอดภัย เช่น ติดผนัง ไม่มีช่องว่างให้เด็กให้เด็กเกิดอันตรายได้ (พ่อแม่จะได้ ไม่ต้องมากังวลเวลาลูกร้อง ว่า มีอันตรายอะไรเกิดขึ้นกับลูกมั้ย)
✔️จัดบรรยากาศให้มืด ไม่มีเสียงรบกวน หรืออาจจะเปิดไฟส้มสลัวๆได้ค่ะ ความมืดจะช่วยกระตุ้นการหลัง hormone melatonin ช่วยในการนอนหลับ
Trick !!!สร้างความแตกต่าง ระหว่างกลางวันและกลางคืนให้ลูก #ชัดเจน เช่น
🔅กลางวัน สว่าง เปิดม่าน มีแดด เสียงดัง
🙈กลางคืน มืด เงียบ
✔️สามารถเปิดเพลงบรรเลงเบาๆได้
✔️ลูบตัวและลูบหัว พร้อมกับพูดกระซิบกับลูกว่า “นอนนะคนดี นอนนะลูก” (โทนเสียงนุ่มนวลและอ่อนโยน)
✔️เด็กบางคน อาจจะร้องไห้เสียงดังมาก และร้องนาน หากกล่อมแล้วไม่ดีข้ึน คุณพ่อคุณแม่พักก่อนสัก 2-3 นาที แล้วกลับไปกล่อมแบบเดิมใหม่
✔️ช่วงเริ่มต้น เด็กที่นอนยากบางคน อาจร้องไห้ถึง 30 นาที จนเหงื่อออกชุ่มตัว และจะดีข้ึนหลังจากฝึก 1-2 สัปดาห์ พ่อและแม่ต้องอดทน และผลัดเปลี่ยนกันกล่อมหากไม่ไหว
✔️การกล่อมโดยพ่อ หรือบุคคลอื่น ท่ีไม่ใช่แม่ อาจกล่อมให้ลูกนอนได้เร็วกว่าแม่ …เพราะ hormone oxytocin ที่แม่มี จะหลั่งออกมามากทำให้เราสงสารลูกมาก ..😅
❌ 6 สิ่งที่ #ไม่ควรทำ ถ้ากำลังฝึกลูกนอนยาวอยู่
❌ ถ้าลูกร้องไห้หรือตื่นนอนตอนกลางคืน ✖️✖️✖️โดยไม่อุ้มลูกขึ้น…….
’ อย่าเพิ่งอุ้มกล่อมหรือให้นมลูก ‘ ให้ดูแลความปลอดภัยก่อน ว่าไม่มีภาวะตกเตียง ดูแลเรื่องปัสสาวะอุจจาระเปียกชื้นผ้าอ้อมหรือไม่…..
หลังจากนั้นให้กล่อมลูกบนที่นอน ….
เห็นมั้ย ว่า ‘ไม่ต้องรีบ ‘ ‘ใจเย็นๆ ‘ เพราะ วงจรการหลับของเด็กสั้นกว่าผู้ใหญ่ เด็กบางคนแค่ผวา หรือละเมอร้องไห้เท่านั้น ( คิดถึงตัวเองเวลานอนฝันหรือละเมอ ถ้ามีคนอุ้มปลุกก็คงตกใจตื่นเหมือนกันนะคะ )
❌ การให้นมตลอดคืนที่ลูกร้องจะทําให้เด็กกล่อมตัวเองไม่ได้และทําให้กระเพาะอาหารทำงานตลอด และทำให้ลูกนอนหลับ ‘ไม่เพียงพอ เกิดผลเสียต่อสุขภาพลูก เสี่ยงต่อฟันผุ’
❌ ไม่ดูทีวี/เล่นมือถือ /ทำกิจกรรมที่เร้าใจ ก่อเข้านอน
❌ พ่อแม่ไม่พูดคุยกันเอง หรือทําเสียงรบกวนอื่นๆ จนกว่าลูกจะหลับเอง
❌ไม่ควรให้ลูกนอนตื่นสาย หลัง 8 โมง …บวกลบได้ไม่เกิน 1 ชั่วโมง เพื่อให้นาฬิกาชีวภาพทำงานได้ตามปกติ
คร่าวๆ
#เด็กไม่ควรนอนหลัง 3 ทุ่ม และ ไม่ว่าจะนอนดึกแค่ไหนก็ควรปลุกตื่นก่อน 8 โมงเช้า
เพื่อให้นาฬิกาชีวภาพทำงานได้ตามปกติ
❌ ไม่นอนกลางวันเยอะ (นอนได้ช่วงสาย 30 นาที -1 ชั่วโมง ช่วงบ่ายหลังเที่ยง ไม่ควรเกิน 2 ชั่วโมง และไม่ควรนอนหลัง 5 โมงเย็น )
เด็กบางคนนอนกลางวันมากเกินไป หรือ นอนในช่วงเวลาเย็นหลัง 5 โมงเย็น …ทำให้พอถึงเวลานอนแล้วไม่ง่วงนอนเลยจร้า พลังลูกยังเต็มเปี่ยม แตกต่างจากพ่อแม่สิ้นเชิง555
(ถ้าเด็กนอนในช่วงเย็น ควรปลุกขึ้นมาหลังจากนอนไป ได้แล้ว 30 นาที)
🥰กฎ ข้อ เดียว ที่ทำให้ การฝึกลูกสำเร็จ คือ
พ่อแม่ อดทน ใจแข็ง และสม่ำเสมอ (ถ้ายังตัดสินใจไม่ได้ ก็อย่าเพิ่งเริ่มฝึกค่ะ เด็กจะสับสน)
…เด็กบางคนใช้เวลา ฝึก 1-2 สัปดาห์ สั้นหรือยาวกว่านี้ แล้วแต่ พื้นอารมณ์เด็ก และความสม่ำเสมอในการฝึกนะคะ (ฝึกทั้งกลางวันและกลางคืนเหมือนกันนะคะ ) ….
….ลูกร้องไห้มาก ตอนฝึกใหม่ๆ เป็นเรื่องปกติ
ตั้งสติ อดทน และเชื่อมั่นว่าเรากำลังให้สิ่งที่ดีที่สุดกับลูกอยู่คร่า 💕
#เป็นกำลังใจให้คุณพ่อคุณแม่ฝึกลูกให้นอนยาวตอนกลางคืนนะคะ
😬คำถามยอดฮิต
🙈ลูกฝึกนอนยาวได้ ตั้งแต่ เมื่อไหร่ : 4-6 เดือน
🙈นอนยาวแค่ไหนเรียกว่ายาว? :6-8 ชั่วโมง ติดต่อกันค่ะ
🙈ลูกนอนยาวแต่ตื่นขึ้นมากินนมกลางดึกแบบนี้เรียกนอนยาวมั้ย ? : ถ้าไม่ติดต่อกันถึง 6-8 ชั่วโมง คือ ไม่เรียกว่า ‘นอนยาว’ (กลับไปฝึกเลิกมื้อดึกด้วยค่ะ 😅)
🤪ถ้า เลิกมื้อดึกไม่ได้ ก็มักจะนอนยาวไม่ได้ แนะนำฝึก ไปด้วยกันนะคะ ตามอ่านรายละเอียดเลิกมื้อดึก ได้ตาม นี้ เลยค่ะ
https://www.facebook.com/334548503939610/posts/653000472094410/?d=n
🤔ทำไมต้องเลิกมื้อดึก ??
👍ทำให้นอนยาวได้ >>ทำให้สมองดี ร่างกายเติบโต จิตใจแจ่มใส
👍ลดโอกาสฟันผุ
👍ลดปัญหาการกินยาก บางคนกินนมกลางคืน ตื่นมา ตอนเช้า อิ่ม เลยไม่กิน
👍พ่อแม่ ได้พักบ้าง 😃😃
🎉ฝึกลูกเลิกมื้อดึกและนอนยาวได้ไปพร้อมๆ กันเลยคร่า
🙏อ้างอิงข้อมูลบางส่วนจาก กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ประเทศไทย
และ หนังสือ Baby Sleep Training
(ฝึกลูกนอนยาว สไตล์คุณแม่ญี่ปุ่น )
#ด้วยรักจากหมอมะเหมี่ยว
แพทย์หญิงสุทธิชา อู่เงิน
กุมารแพทย์
#Bambini #BabyWellnessCenter
#ศูนย์บริการสำหรับเด็กแบบครบวงจรแห่งแรก
#คลินิกเด็ก #คลินิกเด็กหมอมะเหมี่ยว #คลินิกนมแม่และอยู่ไฟหลังคลอด
#คาเฟ่เด็ก
#ศูนย์พัฒนาการเด็ก #สตูดิโอถ่ายภาพเด็ก
#สินค้าแม่ละเด็ก


✔️จัดที่นอนลูก ให้เป็นสัดส่วน แยกจากพ่อแม่ ต้องเน้นเรื่องความปลอดภัย เช่น ตกเบาะ เตียง
(ส่วนเรื่องนอนห้องเดียวกันหรือไม่
สามารถปรัปดูตามวัย และวัฒนธรรรมของแต่ละบ้านได้นะคะ )
✔️ควรจัดเตียง หรือเบาะ ที่เด็กนอน ให้มีความปลอดภัย เช่น ติดผนัง ไม่มีช่องว่างให้เด็กให้เด็กเกิดอันตรายได้ (พ่อแม่จะได้ ไม่ต้องมากังวลเวลาลูกร้อง ว่า มีอันตรายอะไรเกิดขึ้นกับลูกมั้ย)

✔️จัดบรรยากาศให้มืด ไม่มีเสียงรบกวน หรืออาจจะเปิดไฟส้มสลัวๆได้ค่ะ ความมืดจะช่วยกระตุ้นการหลัง hormone melatonin ช่วยในการนอนหลับ
Trick !!!สร้างความแตกต่าง ระหว่างกลางวันและกลางคืนให้ลูก #ชัดเจน เช่น
🔅กลางวัน สว่าง เปิดม่าน มีแดด เสียงดัง
🙈กลางคืน มืด เงียบ
✔️เด็กบางคน อาจจะร้องไห้เสียงดังมาก และร้องนาน หากกล่อมแล้วไม่ดีข้ึน คุณพ่อคุณแม่พักก่อนสัก 2-3 นาที แล้วกลับไปกล่อมแบบเดิมใหม่

✔️สามารถเปิดเพลงบรรเลงเบาๆได้
✔️ลูบตัวและลูบหัว พร้อมกับพูดกระซิบกับลูกว่า “นอนนะคนดี นอนนะลูก” (โทนเสียงนุ่มนวลและอ่อนโยน)

✔️ช่วงเริ่มต้น เด็กที่นอนยากบางคน อาจร้องไห้ถึง 30 นาที จนเหงื่อออกชุ่มตัว และจะดีข้ึนหลังจากฝึก 1-2 สัปดาห์ พ่อและแม่ต้องอดทน และผลัดเปลี่ยนกันกล่อมหากไม่ไหว
✔️การกล่อมโดยพ่อ หรือบุคคลอื่น ท่ีไม่ใช่แม่ อาจกล่อมให้ลูกนอนได้เร็วกว่าแม่ …เพราะ hormone oxytocin ที่แม่มี จะหลั่งออกมามากทำให้เราสงสารลูกมาก ..😅

❌ ถ้าลูกร้องไห้หรือตื่นนอนตอนกลางคืน ✖️✖️✖️โดยไม่อุ้มลูกขึ้น…….
’ อย่าเพิ่งอุ้มกล่อมหรือให้นมลูก ‘ ให้ดูแลความปลอดภัยก่อน ว่าไม่มีภาวะตกเตียง ดูแลเรื่องปัสสาวะอุจจาระเปียกชื้นผ้าอ้อมหรือไม่…..
หลังจากนั้นให้กล่อมลูกบนที่นอน ….
เห็นมั้ย ว่า ‘ไม่ต้องรีบ ‘ ‘ใจเย็นๆ ‘ เพราะ วงจรการหลับของเด็กสั้นกว่าผู้ใหญ่ เด็กบางคนแค่ผวา หรือละเมอร้องไห้เท่านั้น ( คิดถึงตัวเองเวลานอนฝันหรือละเมอ ถ้ามีคนอุ้มปลุกก็คงตกใจตื่นเหมือนกันนะคะ )
❌ การให้นมตลอดคืนที่ลูกร้องจะทําให้เด็กกล่อมตัวเองไม่ได้และทําให้กระเพาะอาหารทำงานตลอด และทำให้ลูกนอนหลับ ‘ไม่เพียงพอ เกิดผลเสียต่อสุขภาพลูก เสี่ยงต่อฟันผุ’

❌ ไม่ดูทีวี/เล่นมือถือ /ทำกิจกรรมที่เร้าใจ ก่อเข้านอน
❌ พ่อแม่ไม่พูดคุยกันเอง หรือทําเสียงรบกวนอื่นๆ จนกว่าลูกจะหลับเอง

❌ไม่ควรให้ลูกนอนตื่นสาย หลัง 8 โมง …บวกลบได้ไม่เกิน 1 ชั่วโมง เพื่อให้นาฬิกาชีวภาพทำงานได้ตามปกติ
คร่าวๆ
#เด็กไม่ควรนอนหลัง 3 ทุ่ม และ ไม่ว่าจะนอนดึกแค่ไหนก็ควรปลุกตื่นก่อน 8 โมงเช้า
เพื่อให้นาฬิกาชีวภาพทำงานได้ตามปกติ
❌ ไม่นอนกลางวันเยอะ (นอนได้ช่วงสาย 30 นาที -1 ชั่วโมง ช่วงบ่ายหลังเที่ยง ไม่ควรเกิน 2 ชั่วโมง และไม่ควรนอนหลัง 5 โมงเย็น )
เด็กบางคนนอนกลางวันมากเกินไป หรือ นอนในช่วงเวลาเย็นหลัง 5 โมงเย็น …ทำให้พอถึงเวลานอนแล้วไม่ง่วงนอนเลยจร้า พลังลูกยังเต็มเปี่ยม แตกต่างจากพ่อแม่สิ้นเชิง555
(ถ้าเด็กนอนในช่วงเย็น ควรปลุกขึ้นมาหลังจากนอนไป ได้แล้ว 30 นาที)