fbpx

คำพูดที่ว่า #จับลูกนอนคว่ำ ลูกจะได้หัวทุย !!!! ทำได้จริงมั้ย!???!

รีบตอบก่อน >>>
❌ห้ามทำจ้า กรณี ลูกอายุ แรกเกิด-3 เดือน เพราะ ลูกยังคอไม่แข็ง ถ้าให้นอนคว่ำ มีโอกาสเสียชีวิตจาก โรคไหลตาย หรือ SIDS (Sudden Infant Death Syndrome)
วัยนี้ แนะนำ ควรให้นอนหงายทั้งการนอนช่วงกลางวันและกลางคืน

👶🏻 หัวแบน /หัวไม่ทุย /หัวเบี้ยว เกิดได้จาก 2 แบบ

👉 #เป็นตั้งแต่เกิด : เป็นความผิดปกติตั้งแต่ในครรภ์มารดา จากการกดทับของมดลูกต่อกะโหลกส่วนท้ายทอยของลูกเป็นเวลานาน จะพบได้ในรายที่แม่มีมดลูกเล็ก กดรัดมาก หรือในรายที่มีลูกแฝด หรืออาจพบหลังคลอดใหม่ๆ จากการใช้อุปกรณ์ของสูตินรีแพทย์ เช่น การใช้คีมหรือเครื่องสุญญากาศช่วยคลอดในรายที่มีปัญหาคลอดยาก ,เด็กที่คลอดก่อนกำหนด

👉 #เป็นภายหลังคลอด ส่วนใหญ่เกิดจากการนอนอยู่ในท่าใดท่าหนึ่งนานๆ กะโหลกที่มีลักษณะรูปวงรีสวยงามจะเบี้ยวไปโดยเฉพาะบริเวณท้ายทอย และมักจะเบี้ยวด้านใดด้านหนึ่ง ถ้านอนด้านนั้นนานมาก หรืออาจจะมีท้ายทอยแบนราบ ถ้านอนหงายเป็นเวลานานครับ เราเรียกหัวเบี้ยวแบบนี้ว่า “Positional skull deformities”
เด็กปกติทุกคนเวลานอนหงาย #ไม่จำเป็นจะต้องมีหัวเบี้ยวทุกคน ‘ บางรายเท่านั้นที่มีปัญหา ‘ เพราะ เด็กปกติสามารถหันคอไปมาได้เอง หรือสลับซ้ายทีขวาที (((ยกเว้นเด็กมีปัญหาคอเอียง มักจะนอนหันแค่ด้านเดียว))

👍👍👍วิธีป้องกัน ลูกหัวแบน/หัวเบี้ยว /หัวไม่ทุย
>>>> 2-3 สัปดาห์แรกหลังคลอด เป็นช่วงเวลาที่สำคัญที่สุดเนื่องจากกะโหลกศีรษะจะอ่อนและเกิดความผิดปกติได้ง่าย
คุณพ่อคุณแม่อาจต้องคอยช่วยจับศีรษะลูกสลับด้านที่นอนกดทับพลิกไปมาเป็นระยะๆ สลับกันไป ตอนที่ ลูกนอนหงาย
และเมื่อเวลาลูกตื่นนอน สามารถให้ลูกนอนคว่ำ (prone position) เวลาตื่นนอนเราจะเรียกว่า Tummy time นอกเหนือจากจะช่วยให้ลูกได้มีโอกาสบริหารกล้ามเนื้อคอ และไหล่เพื่อกระตุ้นพัฒนาการของเด็กในด้านต่างๆ ได้ด้วยแล้ว ขณะเดียวกันก็ป้องกันศีรษะเบี้ยวได้
บางคนเวลาลูกตื่นนอนมักจะให้ลูกนอนอยู่ในที่นอนเด็ก หรือ car seat ที่จะมีลักษณะกึ่งนั่งกึ่งนอน เด็กจะอยู่ในท่านอนหงายตลอดเวลาแม้เวลาตื่นนอน การทำเช่นนี้จะส่งผลต่อรูปศีรษะของเด็กด้วย
ควรกระตุ้นให้ลูกหันศีรษะเพื่อให้มองเห็นกิจกรรมของพ่อแม่ หรือคนเลี้ยงอาจช่วยให้เด็กไม่อยู่ในท่าใดท่าหนึ่งตลอด

👶🏻ถ้าลูก หัวแบน/หัวเบี้ยว แล้วทำไง???
กรณีศีรษะเบี้ยวตั้งแต่แรกคลอด
….ภายหลังจากคลอด 2 – 3 เดือน ก็จะเริ่มดีขึ้นเรื่อยๆ แต่หากยังนอนหงายโดยใช้บริเวณท้ายทอยที่แบนราบสัมผัสพื้นต่อไป ภาวะดังกล่าวจะยังคงอยู่
อาจจะใช้วิธีนอนคว่ำ #เวลาตื่น หรือ นอนหงายแต่จัดท่า ให้เด็กหันสลับตะแคงซ้ายขวา
การทำดังกล่าวจะช่วยได้แก้ปัญหาหัวเบี้ยวได้ แต่จะใช้เวลาประมาณ 2 – 3 เดือน
ในรายที่ทำตามคำแนะนำดังกล่าวแล้วไม่ดีขึ้นอาจต้องพบแพทย์เฉพาะทาง การรักษาจะได้ผลดี หากมาพบแพทย์ในช่วงอายุของลูกประมาณ 4 – 12 เดือน เนื่องจากเป็นช่วงที่กะโหลกศีรษะของลูกยังมีความอ่อน สามารถจะปรับเข้ารูปได้ง่ายๆ
บางรายที่ปรัปท่าการนอนแล้วไม่ได้ผล อาจจะต้องใช้วิธีการใส่หมวกคล้ายหมวกกันน็อก (Skull molding helmet) เพื่อปรัปรูปศีรษะ

💖ด้วยรักจากหมอมะเหมี่ยว
แพทย์หญิงสุทธิชา อู่เงิน
กุมารแพทย์ /แม่ลูกอ่อน
❤️เพราะเด็กๆคือ หัวไจของเรา
#Bambini #BabyWellness