fbpx

โควิด19 กับเด็ก #รับมือระลอกใหม่
อาการ+ การรักษา+ การป้องกัน
#ทำไมCOVID19ถึงกลายพันธุ์
#ดูแลบุตรหลานให้ปลอดภัยจากCOVID19ระลอกใหม่
👉กลุ่ม ที่มักพบว่า ติดเชื้อ มักเป็นคนที่อายุ มากกว่า 20 ปี เนื่องจาก มีกิจกรรมนอกบ้าน เยอะ
👉 พบในเด็กน้อย
0-10 ปี แค่ 2%
10-20 ปี 4-5%
👉บ้านที่มีเด็กเล็ก พยายาม อย่าพาเด็กออกนอกบ้าน ถ้าไม่จำเป็น
👉 ตอนนี้ โรงเรียน จึงให้เรียนออนไลน์ ไปก่อน
👉การออกนอกบ้าน ไปทำธุระ เน้น ไปสถานที่ ที่สามารถ
✅เว้นระยะห่าง 1-2 เมตร
✅มีการหมุนเวียนอากาศดี open air , out door
✅ ไม่มีผู้คนจำนวนมากมารวมกัน
✅ใส่หน้ากาก
✅ล้างมือ บ่อยๆ

🌈โควิด 19 เป็นในเด็กไม่รุนแรงจริงมั้ย???
เพราะ เวลาเชื้อไวรัสเข้าเซลล์ ต้องมีประตูรับเชื้อเฉพาะตัว
….โชคดี ประตูรับเชื้อของเด็ก ยังทำงานไม่ดีเท่าไหร่ ทำให้เชื้อเข้าไม่มากพอ ทำให้อาการไม่รุนแรง
….แต่ กรณี เด็กที่มีโรคประจำตัว ภูมิคุ้มกันไม่ดี ก็ยังเป็น กลุ่มเสี่ยงที่อาการจะรุนแรงได้
🌈ข้อมูลใหม่จากอเมริกา ล่าสุด บอกว่า เด็กติดเชื้อเริ่มมากขึ้น โดย ส่วนใหญ่ได้รับเชื้อมาจากผู้ใหญ่ ……
👉ถ้า ผู้ใหญ่ ติดเชื้อเยอะ เด็กก็จะติดเชื้อเยอะตาม
👉ตอนนี้ในไทย เด็กที่เป็นโควิด อาการไม่รุนแรง ไม่มีเสียชีวิต
🌈เมื่อผู้ใหญ่ ออกนอกบ้านไปทำธุระ แล้วกลับมาบ้าน
👉ควรล้างมือก่อน
👉อาบน้ำ
👉เปลี่ยนเสื้อผ้า
เพื่อป้องกันเชื้อจากผู้ใหญ่ แพร่เชื้อไปให้เด็ก
🌈โควิด ติดได้ ทาง….
👉ทางเดินหายใจ : มากที่สุด
👉ตา : ประตูรับไม่ดี ถ้ามีเชื้อ น้ำตาจะหลั่งออกมา
👉ทางเดินอาหาร : ประตูรับไม่ดี เนื่องจากกรดในกระเพาะอาหารหลั่งออกมา ฆ่าเชื้อ
กินของสุกสะอาด อาหารทะเลได้
🌈พ่อแม่ที่มี ลูกเล็ก ต้องพาลูกไป รพ. ควรทำไงดี ?? ใส่แมสไม่ได้กรณีเด็กเล็ก น้อยกว่า 2 ปี
👉 วัคซีน ที่จำเป็น ไม่ควรเลื่อน คือ วัคซีนโรคพิษสุนัขบ้า (หลังสัมผัสโรค) ,ตับอักเสบบี กรณีแม่เป็นพาหะตับอักเสบบี
👉ไม่ควรเลื่อนเกิน 2 สัปดาห์ คือ คอตีบ ไอกรน บาดทะยัก โปลิโอ ตับอักเสบบี
👉 พยายาม เลือก สถานพยาบาล ที่สามารถนัดเวลา ลดระยะเวลารอคอย และเว้นระยะห่างได้
🌈คุณแม่ตั้งครรภ์ แล้วเจอคนติดเชื้อ จะส่งผลให้ลูกในท้องติดเชื้อมั้ย ??
👉คนท้อง เสี่ยงติดเชื้อได้ง่าย !!!! พยายามอย่าไปแหล่งชุมชน
👉การศึกษา เรื่องการติดเชื้อจากแม่สู่ลูกกำลังศึกษา
👉ยังคงศึกษา เรื่อง ผลต่อทารกในครรภ์ จากแม่ที่เป็นโควิด
👉สามารถให้นมลูกได้ปกติ ถ้ามีการป้องกันที่ดี
🌈มีสมุนไพร /อาหาร /อาหารเสริม ที่ป้องกันโควิดมั้ย ???
👉กินอาหารดี ครบห้าหมู่ดีที่สุด
👉อาหารเสริม/สมุนไพร ยังไม่มีการศึกษา
🌈เชื้อโรคกลายพันธ์ ตอนนี้รุนแรงมั้ย ??
👉เชื้อโรคปรัปตัว เพื่อกระจายเชื้อได้ต่อการกลายพันธ์ตอนนี้ ไม่มีผลต่อยาที่รักษา และ วัคซีนยังครอบคลุมอยู่
🌈คนที่อยู่ในที่ทำงานเดียวกัน หรือเราไปสถานที่เดียวกับคนติดเชื้อ
👉กรณี สัมผัสความเสี่ยงต่ำ : ทำกิจกรรมได้ตามปกติ เว้นเดินทางไปที่ชุมชน ใส่หน้ากากตลอด สังเกตอาการตัวเอง เช่นไข้ ไอ น้ำมูก
👉กรณี สัมผัสความเสี่ยงสูง คือ คนในครอบครัว , อยู่ใกล้กันน้อยกว่า 1-2 เมตร +ไม่ได้ใส่หน้ากากอนามัย +นานมากกว่า 5 นาที ,
และ สัมผัสกันภายใน 14 วันที่ผ่านมา
👉คนในบ้าน ที่ สัมผัส กับ ผู้สัมผัสความเสี่ยงสูง ไม่ถือว่า เป็นผู้สัมผัส …… ปฏิบัติตัวตามปกติ
🌈เข้าห้องน้ำสาธารณะ
แล้วกดชักโครก เชื้อฟุ้งกระจายมั้ย???
👉 ไม่ได้มีการฟุ้งกระจายของเชื้อ ขนาดติดเชื้อได้ …..เพราะ เชื้อติดทางเดินหายใจมากที่สุด
👉เน้นล้างมือหลังเข้าห้องน้ำทุกครั้ง
🌈การป้องกัน โควิด19 🌈
🌟การเดินทางไปที่สาธารณะ/แหล่งชุมชน ไปเท่าที่จำเป็น เด็กเล็กหลีกเลี่ยง แต่ถ้าต้องไป เช่นฉัดวัคซีน ก็ควรเว้นระยะห่าง +ใส่แมส
…….ถ้า เด็ก ต่ำกว่า 2 ปี ใส่แมสไม่ได้ อาจจะควรเว้นระยะยะห่าง 1-2 เมตร
🌟หน้ากากอนามัย/ผ้า /face shield ใส่อะไรดี
– หน้ากากอนามัย 3 ชั้น surgical mask ป้องกันได้ มากกว่า 90%
– หน้ากาก N95 สำหรับบุคลากรการแพทย์ ใส่จริงๆ อยู่ได้แค่ 20 นาที เพราะแน่นมาก หายใจไม่สะดวก
– Face shield ป้องกัน ละอองฝอย น้ำลาย ที่จะเข้าสู่ใบหน้า เหมาะสำหรับบุคลากรทางการแพทย์
🌟ถุงมือ ถ้าใส่แล้วไม่ล้างมือ คือ ไม่มีประโยชน์ การใส่ถุงมือเหมาะสำตรับบุคลากรการแพทย์ ที่อาจจะสัมผัสสารคัดหลั่ง
🌟การล้างมือ ควรล้างมือด้วยน้ำสบู่อย่างน้อย 20 วินาที
🌟แอลกอฮอล์ควรใช้แบบ 70%ขึ้นไป
แบบน้ำหรือเจล ก็ฆ่าเชื้อได้ เหมือนกัน
แค่แบบน้ำ แห้งเลย แบบเจลอาจจะต้องรอ 5-10 วินาที แล้วแห้ง
🌟ผ้า/เสื้อผ้าที่อาจเปื้อนเชื้อโรค ซักทำความสะอาด ได้ตามปกติ สามารถใช้มือซักผ้าได้ เนื่องจาก ผงซักฝอกเป็นตัวทำละลายเชื้อโรค ทำลายเปลือกไวรัส ……เหมือนเราล้างมือนานๆ ยังไง เชื้อก็ตาย ไม่ต้องกังวล
…….❌ไม่จำเป็น ต้องใช้น้ำยาฆ่าเชื้อพิเศษ ใดๆ
🌈วัคซีน โควิด
👉ตอนนี้ ผลิตกันหลายร้อยบริษัท
👉ที่ใช้กันมากๆ ตอนนี้ คือ ของ อเมริกา อังกฤษ และจีน
👉ก่อนนำวัคซีน เข้ามาใช้ในประเทศไทย ต้อง ผ่าย อย และผู้เชี่ยวชาญ
👉ในเด็กยังไม่มีการศึกษา ในเด็กอายุ ต่ำกว่า 18 ปี
👉ต้องปลอดภัยใน ผู้ใหญ่ก่อน จึงใช้ในเด็กได้
👉วัคซีนโควิดในเด็กตอนนี้ ต้องรอไป ก่อน
👉vaccine ที่จะใช้ช่วงนี้ ฉีดใน กลุ่มเสี่ยงคือ บุคลากรการแพทย์ ผู้สูงอายุ คนที่มีโรคประจำตัว เช่น อ้วน เบาหวาน
👉วัคซีน ตอนนี้ คือ ช่วยลดความรุนแรงของโรค อาจจะไม่ใช่ป้องกันการติดเชื้อ!!

🙏ขอขอบคุณข้อมูล จาก ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย
โดย
รศ.(พิเศษ) นพ.ทวี โชติพิทยสุนนท์
นายกสมาคมโรคติดเชื้อในเด็กแห่งประเทศไทย
ที่ปรึกษากรมการแพทย์และกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธาระสุข