เคยได้ยินคำว่า IQ EQ และ EF มาบ้าง แต่ไม่แน่ใจ ว่าต่างกันยังไง ?
แล้วพ่อแม่เลือกอะไรได้มั้ย ?
ระหว่าง IQ หรือ EQ หรือ EF
สมอง EF ได้ยินบ่อยมาก มันคือ อารายหว่า? จำเป็นด้วยเหรอที่เด็กต้องมี EF
อยากสร้างสมองEF ให้ลูกต้องทำยังไง?
ใครอยากให้ไลฟ์ เรื่องนี้ กด 1 มารัวๆ นะคะ
ถ้าอยากทราบกันเยอะ หมอจะจัดให้ค่ะ
เคยได้ยินคำว่า IQ EQ และ EF มาบ้าง แต่ไม่แน่ใจ ว่าต่างกันยังไง ?
ไอคิว ( IQ) Intelligence Quotient คือ ความฉลาดทางเชาวน์ปัญญา การคิด การใช้เหตุผล การคำนวณ การเชื่อมโยง
‘เป็นศักยภาพทางสมอง’ ที่ติดตัวมาแต่กำเนิด #เปลี่ยนแปลงแก้ไขได้ยาก …
อีคิว (EQ)
Emotional Quotient คือ ความฉลาดทางอารมณ์เป็นความสามารถในการรับรู้ และเข้าใจอารมณ์ทั้งของตัวเองและผู้อื่น
‘สามารถ #ปรับเปลี่ยนเรียนรู้และพัฒนาให้ดีขึ้นได้’
อีเอฟ (EF) ‘ทักษะในการอยู่รอดในศตวรรษนี้’
Executive Functions เป็นกระบวนการทางความคิด การยั้งใจชั่งใจ การควบคุมอารมณ์ การยืดหยุ่นทางความคิด การตั้งเป้าหมาย วางแผน ความมุ่งมั่น การจดจำและนำข้อมูลมาใช้ การจัดลำดับความสำคัญของเรื่องต่างๆ และการทำสิ่งต่างๆ อย่างเป็นขั้นเป็นตอนจนบรรลุความสำเร็จ
.
EF เป็นทักษะที่มนุษย์ #เราทุกคนควรมี ซึ่งความสำคัญยิ่งต่อทั้งความสำเร็จในการเรียน การทำงาน รวมทั้งการมีชีวิต …..
.
และที่สำคัญที่สุด EF เป็นสิ่งที่เรา ‘สร้างได้’
และสร้างได้ ดีที่สุด ในช่วง 6 ขวบปีแรก ของชีวิต
แล้วพ่อแม่เลือกอะไรได้มั้ย ?
ระหว่าง IQ หรือ EQ หรือ EF
IQ -ติดตัวมาตั้งแต่เกิด /เลือกไม่ค่อยได้
EQ และ EF เปลี่ยนแปลงได้ และสร้างให้ดีได้
ตามไปอ่านกัน
#จำเป็นด้วยเหรอที่เด็กต้องมี EF??
เพราะเด็ก Gen Alpha ที่เกิดหลัง 2010 เกิดมาพร้อม wifi , social media ที่ทุกอย่างเปลี่ยนแปลงไวมาก
…..และผู้ร้ายก็อยู่แค่ปลายนิ้วลูกของเราเอง
ถ้าเค้าไม่มีสมองEF เค้าอาจจะไปผิดทางได้ง่ายๆ เดินออกนอกบ้านก็เจอสิ่งล่อตาล่อใจมากมาย
……ถ้าไม่มี สมองEF ไว้ติดเบรค ห้ามใจลูก ท่าทางลูกเราอาจจะไปต่อยาก
…….ตัวอย่างของคนที่ EF มีปัญหา เช่น ควบคุมอารมณ์ไม่ได้ ยับยั้งชั่งใจไม่ได้ >>ผลลัพธ์ตอนโต จะเป็น เด็กอันธพาล ติดคุก ติดยา ได้!! (เหมืงนที่เห็นๆ กันอยู่)
……..ตัวอย่างของคนที่ EF ดี เช่น แจ๊คหม่า เนื่องจาก เค้ามองปัญหาทุกปัญหาว่ามีทางออกเสมอ แบบนี้เรียกว่ามีความคิดยืดหยุ่น และมองเป้าหมายเอาไว้และทำยังไงก็ได้ให้ไปถึงเป้าหมาย อย่างที่ทุกๆคนรู้ดีว่า Alibaba ตอนก่อสร้างตัวแรกๆ มีปัญหามากมายแต่แจ๊คหม่าก็ฝ่าฟันมาได้ เพราะ เค้ามี EF ที่ดี
สมองเจ้านาย สมอง EF คืออะไร (ยาวนะ แต่อ่านเถอะ
)
สมองส่วน EF จะอยู่บริเวณแถวหน้าผาก
มันคือสมองบริหาร หรือเจ้านายของสมอง
ที่จะรับประมวลผลจากสมองแผนกต่างๆ แล้ว
สั่งงานให้สมองส่วนไหนทำอะไร !
.
สมองส่วน EF (executive function)
สามารพัฒนาได้ #ตั้งแต่ขวบปีแรก คือ Working memory หรือความจำใช้งาน
เราควรฝึก EF อย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง
EF ไม่สามารถเกิดขึ้นได้เอง ‘ต้องฝึก’
EF เกิดจากสิ่งแวดล้อมและการเลี้ยงดู
ไม่เกี่ยวข้องกับพันธุกรรม
.
สมองEF จะมีหน้าที่ คร่าวๆ ตามนี้
ความจำใช้งาน (working memory) – ความจำที่ #ไม่ได้เกิดจากการท่องจำ เช่น จำได้ว่ามีดมันคม เวลาลูกจับมีดเค้าจะระวังเป็นพิเศษ
การยับยั้งชั่งใจ (inhibit ) อดเปรี้ยวไว้กินหวาน เช่น แม่บอกให้ทำการบ้านก่อนให้เสร็จแล้วค่อยเล่นเกมส์ เด็กที่มี EF ดี จะยับยั้งตนเองให้ทำการบ้านให้เสร็จก่อน
การควบคุมอารมณ์ตัวเอง (Self control) เช่น ตอนนั่งเรียนในห้องเรียนเด็กอาจจะอยากวิ่งเล่นที่สนามมาก แต่เค้าต้องควบคุมตนเองให้นั่งในห้องเรียนต่อเพราะมันไม่ใช่เวลาเล่น
ความคิดยืดหยุ่น (Cognitive Flexibility) เช่น เวลาเด็กระบายสี แล้วสีเดิมที่เด็กเคยใช้หมด เค้าจะสามารถยืดหยุ่นใช้สีอื่นแทนได้ โดยไม่โวยวาย
การวางแผนงาน #เพื่อให้ไปถึงเป้าหมาย (Planing) เช่น แม่บอกให้ลูกช่วยทำงานบ้าน เด็กเค้าจะฝึกวางแผน ว่าต้องทำอะไรก่อน อะไรทีหลังเพื่อให้งานบ้านเสร็จ คือ กวาดบ้านก่อนแล้วค่อยถูพื้น …
.
การอยากให้ลูกเป็นเด็กดี มี EF ไม่ใช่ว่า ทำได้ภายในเดือนเดียว เพราะ EF ต้องค่อยๆสร้าง ค่อยๆฝึก เนื่องจาก สมองจะค่อยๆพัฒนาและสร้างเส้นใยประสาท
.
อะไรใช้บ่อยหรือเจอแบบสม่ำเสมอสมองจะเก็บความทรงจำนั้นไว้ อะไรที่ไม่ค่อยได้ใช้สมองจะตัดเส้นใยส่วนนั้นทิ้งไป (Synaptic Pruning)
.
สมองพัฒนาได้มากที่สุดช่วง 6 ขวบปี แรก โดยพัฒนาได้ถึง 90%
ช่วงวัยที่เราควรเลี้ยงดูลูกด้วย #ความรู้และความรักอย่างเต็มที่ อย่าให้อะไรพรากโอกาสนี้ไปได้
.
บางคนเพิ่งได้อ่านโพสนี้ ก็จะตกใจ เพราะลูกอายุ มากกว่า 6 ปีแล้ว ทำไงละคะ
.
ในกรณี ที่อายุ มากกว่า 6 ปี ก็สามารถ พัฒนา สมอง ส่วน EF ได้ แต่อาจจะช้าหน่อย และสามารถพัฒนาได้ถึง 25 ปี
อยากสร้างสมองEF ให้ลูกต้องทำยังไง?
การสร้าง EF นั้น ไม่ง่ายและไม่ยาก
1. อาหาร ต้องเพียงพอ และมีประโยชน์ จำไว้ค่ะ กองทัพเดินด้วยท้อง ไม่มีอาหาร สมองก็ไม่ไหวนะคะ ทำกิจกรรมกระตุ้นยังไง สมองไม่ได้อาหารดีๆ ก็จบ ค่ะ ….ตามอ่านเรื่อง อาหารลูกได้เลยในเพจนะคะ ตรง Album อาหารลูก https://www.facebook.com/media/set/?set=a.635826100478514&type=3
2. พาลูกเล่น !!! ใช่ค่ะ ไม่ใช่’เรียน ‘ เพราะ การสร้าง EF นั้น ต้องเล่น เล่น เล่น และเล่น เนื่อง จาก 6 ขวบปีแรก หน้าที่ของเด็กคือ การเล่น ไม่ใช่เรียนหนังสือ ‘เวลาเล่น คือ เวลาแห่งการเรียนรู้ของเด็กๆนั่นเอง’ #ไม่ใช่ให้เด็กเล่นมือถือหรือดูทีวีคนเดียวนะจ้ะ
(ท้ายโพส มีตัวอย่าง 10 การเล่น สร้าง EF ให้นะคะ )
3. อ่านหนังสือ ด้วยกัน …. ตามอ่านโพสที่แล้วกันนะคะ https://www.facebook.com/334548503939610/posts/399600184101108?s=100000504472037&sfns=mo
4. ทำงานบ้าน ….การให้เด็กทำงานบ้านบ้าง ตามวัยที่เค้าพอทำได้ เค้าจะฝึกการคิดแก้ปัญหา และอดทนในการทำงานที่ไม่ชอบจนสำเร็จ ซึ่งจะทำให้เด็กหัดยับยั้งชั่งใจ ไม่ไปเล่นจนกว่างานจะเสร็จ
…..PLEASE ….ถ้ามีพี่เลี้ยง บอก พี่เลี้ยงว่า ….ขอโอกาส ให้ ลูกอิฉันได้ช่วยเหลือตัวเองบ้าง ..จะไม่ลดเงินเดือนพี่เลี้ยงถ้าให้ลูกชั้นได้ลำบากบ้าง
…..ถือว่า ทำงานบ้านเพื่อฝึกสมองลูกแล้วกันนะคะ จะได้ไม่คิดมาก
5. ทำข้อ 1-4 วนไปจ้ะ
#อยากให้ลูกดีต้องทำดีให้ลูกดู
#อยากให้ลูกเก่งก็ต้องเล่นกับลูก
#อยากให้ลูกมีEFพ่อแม่ต้องมีEFก่อน
ตามอ่าน 10 วิธี สร้างสมอง EF ให้ลูกด้วยตัวพ่อแม่ต่อ พรุ่งนี้ นะคะ
ขอขอบคุณความรู้ดีๆ จาก
โรงเรียนพ่อแม่ของ
อาจารย์นายแพทย์ประเสริฐ ผลิตผลการพิมพ์
ที่จังหวัดเชียงรายนะคะ
พ่อแม่ท่านไหนสนใจไปอบรม ทักเข้าไป ที่เพจของอาจารย์ได้ค่ะ https://www.facebook.com/prasertpp/
#ด้วยรักจากหมอมะเหมี่ยว
แพทย์หญิงสุทธิชา อู่เงิน
กุมารแพทย์ ….ที่น่ารักและใจดีม๊ากกกก
มาเจอหมอได้ ที่ Bambini Baby Wellness Center สาขาพัทยาก่อนนะคะ