fbpx

พาลูก #อ่านหนังสือนิทาน ดียังไง?
❤️พัฒนาสมอง EF
เนื่องจาก นิทานแต่ละเรื่อง จะมีเรื่องราวที่เกิดขึ้นตามแต่ละตัวละคร ซึ่ง แฝงไปด้วยบท แห่ง ความดี/ไม่ดี วิธีการแก้ไขจินตนาการ และช่วยให้ลูกเรียนรู้การตอบสนองทางอารมณ์ในแต่ละสถานการณ์ที่ได้ฟัง
.
เทคนิคเพิ่มการพัฒนาสมอง: คุณพ่อคุณแม่ มีการถาม/ ตอบ ชวนคิด ชวนตั้งคำถาม
❤️พัฒนาความสามารถทางด้านภาษา เมื่อเด็กได้ฟังมากๆ บ่อยๆ จะเพิ่ม คลังคำศัพท์ของเค้าไปเรื่อยๆ
ปล.เด็ก ต้องได้ ยินซ้ำๆ ย้ำๆ เป็นร้อย ครั้งพันครั้ง กว่า จะจำและพูดได้
…..เล่านิทาน ซ้ำๆ ย้ำๆ วนไปจ้ะ สนุกทุกคืน แน่นอน …..
❤️พัฒนาสายสัมพันธ์ความรัก และ เพิ่มมูลค่าในตัวเองให้กับคุณลูก (self esteem) เมื่อ ลูกได้อยู่ในอ้อมกอดเรา ทุกวัน ได้กลิ่นเรา ได้สัมผัสไปอุ่นคุณพ่อคุณแม่ ได้ยินเสียง ได้สัมผัสลมหายใจแบบใกล้ๆ จากพ่อแม่ ลูกเค้าจะมั่นใจค่ะ ว่ามีคนรักเค้า
จากนั้นลูกจะมั่นใจเองว่าเค้าเป็นเด็กดีมีคนรัก ….
❤️พัฒนากล้ามเนื้อมือและตาในการทำงานประสานสัมพันธ์กัน เวลาลูกพลิกหนังสือแต่ละหน้า ตาเค้าจะมองว่าหน้านี้จบแล้ว แล้วมือเค้า ก็จะพลิกไปหน้าใหม่
❤️พัฒนาสมาธิ เนื่องจากการฟังนิทาน เด็กๆ ต้องมีสมาธิจดจ่อตั้งใจฟัง เนื้อเรื่องที่ค่อยๆ ดำเนินไปทีละหน้า ไม่งั้นอาจจะฟังไม่รู้เรื่องคร่า
❤️พัฒนาทักษะการฟังและรอคอย เพราะ ลูกต้องตั้งใจฟังเราเล่านิทานไปเรื่อยๆ เริ่ม ฝึกการเป็น ‘ผู้ฟังที่ดี’ ตั้งแต่เล็กๆ และ รอที่คุณพ่อคุณแม่จะอ่านไปทีละหน้าๆ จนลูกหลับปุ๋ย……
🤔อายุ เท่าไหร่ ควรเริ่มอ่านนิทาน ?
“ยิ่งเร็วเท่าไหร่ก็ตามที่เด็กได้รับการส่งเสริมให้รู้จักหนังสือและทำความรู้จักมักคุ้นกับหนังสือ สนุกในการฝึกใช้คำและภาษา ก็จะเป็นประโยชน์สำหรับเด็กคนนั้นมากขึ้นเท่านั้นเมื่อเข้าสู่วัยเรียนหนังสือ”
ปีเตอร์ ไบรอัน วัตตส์ – โปรเฟสเซอร์ด้านจิตวิทยา แห่งมหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด…
.
สรุป ยิ่งเริ่มอ่านเร็วเท่าไหร่ยิ่งดี สำหรับหมอเอง หมอเริ่มอ่านตั้งแต่ ลูกอยู่ในท้องเลยคร่า
🤔อ่านจาก ipad หรือ E-book ได้มั้ย
หนังสือเป็นเล่มจริงๆ เด็กๆ จะได้สัมผัสกระดาษ แล้วส่งสัญญาณไปที่สมองและจดจำได้ว่าอ่านไปแล้วถึงตรงไหน ….สมองได้รับการบริหารตลอด
🤔อ่านหนังสือ เวลาไหนดี?
เวลาไหนก็ได้ ที่สะดวกค่ะ ไม่จำเป็นต้องเป็นนิทานก่อนนอน. วันละ แค่ 30 นาที ทำต่อเนื่อง ให้เป็นกิจวัตร ทำซ้ำๆย้ำๆ แล้วลูก จะน่ารักขึ้นเรื่อยๆค่ะ
…ขอให้ อ่านดีกว่า ไม่ได้อ่านเลย เพราะ ..ไม่มีเวลา…..
🤔อ่านหนังสือ ภาษาอะไรดี?
ภาษาอะไรก็ได้ค่ะ แล้วแต่ เป้าหมายของแต่ละบ้าน เพราะ คอนเซปไม่ได้อยู่ที่ภาษา
ความสำคัญ ของการอ่านหนังสือนิทานให้ลูกฟัง คือ ปฏิสัมพันธ์ ถามตอบ กระตุ้นให้คิด และ มันคือ ‘เวลาคุณภาพ ‘ ของครอบครัว
🤔แล้ว จะเลิกอ่านหนังสือนิทานกับลูกได้เมื่อไหร่?
6 ขวบปีแรก เป็น ช่วงสมอง พัฒนา ได้มากที่สุด ประมาณ 80-90% และพัฒนาได้เรื่อยๆ จนถึงอายุ 25 ปี …บ้านเรา กะว่า จะอ่านนิทานกับลูกไปเรื่อยๆ จนลูกบอกว่า ไม่เอาแล้ว 😅
#ด้วยรักจากหมอมะเหมี่ยว

แพทย์หญิงสุทธิชา อู่เงิน

กุมารแพทย์ประจำ Bambini Baby Wellness Center