fbpx

เริ่มตั้งแต่ปฏิสนธิจนถึง 2 ขวบ คือ 1000 วันที่มหัศจรรย์อย่างมาก แค่การดูแลบางอย่างที่ไม่ต้องใช้เงินมากเราก็เปลี่ยนชีวิตลูกของเราได้แล้วค่ะ

#อยากให้อ่านเพราะสำคัญมาก

ในอดีตเราคิดว่าเกิดมาไม่สมบูรณ์หรือไม่เก่งเป็นเรื่องของเวรกรรมซึ่งหมออยากบอกว่า
“เราสามารถสร้างลูกเราได้”

การพัฒนาสมองเป็นเรื่องของธรรมชาติและการเลี้ยงดูต้องไปควบคู่กันโดยปัจจัยทั้งสองเติมเต็มซึ่งกันและกันในการพัฒนาสมองของเด็กและอนาคตของเด็ก…
“สมองลูกสร้างได้ด้วยมือพ่อแม่”

1,000 วันแรกของชีวิตหมายถึง
ทารกในครรภ์มารดาตั้งแต่เริ่มปฏิสนธิจนถึงอายุ 2 ปีแบ่งออกเป็น 3 ช่วงที่สำคัญได้แก่
1) หญิงตั้งครรภ์ (270วัน)
2) เด็กอายุ 0-6 เดือน (180วัน)
3) เด็กอายุ 6 เดือน – 2 ปี (550วัน)

วิธีการสร้างสมองลูก “มหัศจรรย์ 1000 วัน”
กิน กอด เล่น เล่า เฝ้า ฟัน นอน

กิน
# กิน โภชนาการในช่วง 1,000 วันแรกของชีวิต มีความสําคัญมากถึงร้อยละ 80 ต่อการกําหนดภาวะสุขภาพไปตลอดชีวิตในขณะที่ปัจจัยด้านพันธุกรรมที่ได้รับจากพ่อแม่มีส่วนกําหนดเพียงร้อยละ 20 เท่านั้น

✔ อาหารหญิงตั้งครรภ์และให้นมบุตรเป็นเรื่องสำคัญมาก ถ้าแม่วัวผอมแล้วจะมีน้ำนมได้เยี่ยงไรใครห้ามอาหารกลุ่มเสี่ยงให้กินแต่หมูทอดกับต้มจืด…ฝากไลน์มาบอกนะคะจะตามไปถามว่าตำรานี้ท่านได้แต่ใดมา
✔ การให้ยาเม็ดไอโอดีนเหล็กโฟลิกในหญิงตั้งครรภ์และหลังคลอดที่ให้นมบุตร
✔ คุณแม่ให้นมลูกหลังคลอดอย่าลืมกินวิตามินเสริมนะคะสำคัญมากเพิ่มขึ้นคือแคลเซียมที่บางคนอาจละเลยไป เนื่องจากน้ำนมแม่จะมีแคลเซียมเป็นองค์ประกอบถ้าคุณแม่ไม่กินนมหรือกินไม่พอร่างกายจะดึงแคลเซียมจากกระดูกคุณแม่ลงมาที่น้ำนมนะคะ ตอนคุณแม่อายุเยอะกระดูกจะบางเอาค่ะ
✔ นมแม่ คือ สุดยอดอาหารที่ดีที่สุดและเป็นยาวัคซีนธรรมชาติที่หาซื้อไม่ได้
✔ เลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียว 6 เดือนและการให้นมแม่ต่อเนื่องจนถึง 2 ปีอ่านโพสว่าทำไมต้องกินนมแม่ด้วยตามนี้นะ

ทำไม? เด็กต้องกินนมแม่? นมผงไม่ได้เหรอ?

เพราะนมแม่….

สร้างสมองที่ดีให้กับลูก เนื่องจากมีกรดไขมันที่ทำหน้าที่ช่วยสร้างปลอกไขมันหุ้มเส้นใยสมอง (Myelin Sheath) เพิ่มประสิทธิภาพการส่งสัญญาณประสาทเชื่อมต่อระหว่างเซลล์สมอง.. ปล.นมผงอาจเลียนแบบไม่เหมือน

สร้างพัฒนาการที่ดีให้กับลูก
เด็กที่กินนมแม่อย่างสม่ำเสมอจะได้รับการกระตุ้นพัฒนาการอย่างรอบด้านทั้งการรับรู้กลิ่นของแม่ผ่านการโอบกอดใกล้ชิดการใช้ปากและอวัยวะในช่องปากการสบตากับแม่การเห็นหน้าแม่ขณะดูดนมการพัฒนากล้ามเนื้อแขนขาเมื่อเล่นกับแม่และพัฒนาการของระบบการย่อยอาหาร…..นมผงไม่มีกลิ่นอกอุ่นๆของแม่…

สร้างจิตใจและอารมณ์ที่ดีให้กับลูก
การให้นมแม่แต่ละครั้งแม่จะต้องโอบกอดลูกแนบอกความสุขใจความไว้เนื้อเชื่อใจความอบอุ่นจะถูกปลูกฝังไว้ในจิตใจลูกตั้งแต่วัยแรกเริ่มของชีวิตช่วยให้เด็กเติบโตขึ้นอย่างมีความมั่นคงทั้งทางอารมณ์และจิตใจ…………นมผงทำแทนไม่ได้
สร้างภูมิต้านทานให้ลูกแข็งแรงเป็นเหมือนวัคซีนธรรมชาติลดความเสี่ยงในการเป็นภูมิแพ้ เหมือนเนื้อเพลงค่าน้ำนมที่ว่า
……..“เลือดในอกผสมกลั่นเป็นน้ำนมให้ลูกดื่มกิน”…………นมผงก็ช่วยเรื่องนี้ไม่ได้

สร้างสายสัมพันธ์แม่ลูก……
เหมือนเนื้อเพลงอิ่มอุ่นเลยค่ะ…..
…. “ใช่เพียงอิ่มท้องที่ลูกร่ำร้องเพราะต้องการไออุ่นอุ่นไอรักอุ่นละมุน ขอน้ำนมอุ่นจากอกให้ลูกดื่มกิน”…….

✔ ให้อาหารตามวัยที่ถูกหลักโภชนาการในเด็ก

ข้อปฏิบัติการให้อาหารเพื่อสุขภาพที่ดีของทารกและเด็กเล็กของประเทศไทยแนะนำให้นมแม่อย่างเดียวตั้งแต่แรกเกิดถึง 6 เดือน โดยไม่ต้องให้อาหารอื่นแม้แต่น้ำ!!!
⭐เริ่มให้อาหารตามวัย (complementary foods) เมื่ออายุ 6 เดือน ควบคู่ไปกับนมแม่
⭐ถ้าการเจริญเติบโตมีแนวโน้มลดลงหรือไม่สามารถให้นมแม่ได้อย่างเต็มที่อาจเริ่มให้อาหารตามวัยก่อน6 เดือน ได้แต่ไม่ก่อนอายุครบ 4 เดือน
⭐เพิ่มจำนวนมื้ออาหารตามวัยที่มีคุณภาพและครบ5 หมู่จนครบ3 มื้อเมื่อเด็กอายุ10-12 เดือน
⭐เมื่อเด็กอายุ 1 ปีขึ้นไป ควรให้อาหารมื้อหลัก 3 มื้อและอาหารว่างไม่เกิน 2 มื้อต่อวัน โดยให้อาหารครบ5 หมู่ แต่ละหมู่ให้หลากหลายเป็นประจำทุกวัน
⭐ให้นมแม่ต่อเนื่องถึงอายุ 2 ปี และเสริมนมครบส่วนรสจืดวันละ 2-3 แก้ว

สำนักโภชนาการกรมอนามัยกระทรวงสาธารณสุขแนะนำ
⭐ให้เสริมยาเม็ดไอโอดีนเหล็กและกรดโฟลิกให้กับมารดาที่กำลังให้นมลูก
⭐และเสริมยาน้ำธาตุเหล็กแก่ทารกอายุ 6 เดือนขึ้นไป เพื่อป้องกันการขาดธาตุไอโอดีนและเหล็กซึ่งยังเป็นสารอาหารที่พบขาดได้บ่อยในประเทศไทย
✔ ให้ยานํ้าเสริมธาตุเหล็กสำหรับเด็กอายุ 6 เดือน – 2 ปี ทุกคนเพื่อโดยให้กินสัปดาห์ละ 1 ครั้ง เนื่องจากการขาดธาตุเหล็กในเด็กทำให้ไอคิวต่ำลง 12.5 จุด!!!

✖ หญิงตั้งครรภ์และเด็ก
อายุ 6 เดือน- 5 ปี หลีกเลี่ยงอาหารหวาน/มัน/เค็มจัด
.

กอด
#กอด
✔ การกอดทำให้ลูกสัมผัสได้ว่าพ่อแม่รัก
✔ การกอดทำให้ลูกรู้ว่าเค้ามีตัวตน
✔ การกอดทำให้ลูกรู้สึกปลอดภัย
✔ การกอดเป็นพื้นฐานของความมั่นใจในตัวเองของลูก
✔ ควรกอดเพื่อกระตุ้นประสาทสัมผัสทั้งห้าตั้งแต่หลังคลอดด้วยการสัมผัสแนบชิดแบบผิวชนผิว หรือ Skin to Skin contact
✔ ควรให้ลูกดูดนมตั้งแต่ 1 ชั่วโมง หลังคลอดเลยค่ะ
✔ ขณะอุ้มให้นมแม่หรือไม่ให้นมแม่ก็เอาลูกมาเกาะไว้กับอกแม่เหมือนลูกจิงโจ้ก็ได้ค่ะ กลไกนี้จะสร้างความผูกพันสารแห่งความรักจะหลั่งออกมา ลูกและแม่จะมีความสุขโดยอัตโนมัติแล้วหลังจากนั้น “น้ำนมแห่งความรัก” จะไหลมาเอง

ความจริงสิ่งที่เป็นตอนนี้คือลูกคลอดเสร็จแล้วแม่ลูกโดนแยกกันสักพักแล้วแต่โรงพยาบาลพอพยาบาลเอาลูกมาคืนลูกนอนในคลิปเด็กแม่นอนบนเตียงผู้ป่วยต่างคนต่างมองว่าอย่าร้องนะจ้ะ …..
✔มารดาสามารถนวดสัมผัสทารกได้ยิ่งกอดกันสัมผัสกัน นวดกันยิ่งพัฒนาการดี

เล่น
# เล่น
✔ การเล่นคืองานหลักของเด็ก
✔ เล่นอะไรก็ได้ขอแค่มีคนเล่นด้วย
✔ ของเล่นเสริมพัฒนาการที่ดีที่สุดคือคุณพ่อคุณแม่
✔ พ่อแม่ควรให้เวลาเล่นกับลูกอย่างน้อย3 ชั่วโมงต่อวันไม่ต้องเล่นติดต่อกันก็ได้ครั้งละ30 นาที-1 ชั่วโมงก็ได้ค่ะ…
✔ การเล่นเชิงบวก” การเล่น” สร้างสมองได้จริงเหรอ???

การเล่นเป็นงานที่สำคัญของเด็กเล็กช่วงอายุแรกเกิด – 6 ปี. (ไม่ใช่การไปโรงเรียนนะจ้ะ)
การเชื่อมโยงของเซลล์ประสาทซึ่งจะเกิดขึ้นมากในช่วง 3 ขวบปีแรกมากๆ ซึ่งการเล่นจะทำให้สมองของเด็กมีการเชื่อมโยงของเซลล์ประสาทเพิ่มมากขึ้น

แล้วจะทำให้สมองดีได้ยังไง. ตอบเลยว่า “เล่น” กับลูกสิจ้ะ

ถึงตอนนี้ทุกคนคงจะอยากเล่นกับลูกมากๆ แล้วสินะคะ
แล้วเล่นอะไรยังไง. >>>>ยัง “งง” >>>>
อยู่ไปอ่านกันต่อค่ะ

ลักษณะของ “ของเล่น” ที่ดี
1. ปลอดภัย
2. น่าสนใจและสนุก
3. เหมาะสมกับพัฒนาการแต่ละช่วงวัย
4. มีคุณภาพที่ดีและความคงทน
5. สามารถเล่นได้หลายรูปแบบ

“การเล่นเชิงบวก” คืออะไร???
⭐การเล่นเชิงบวกคือการเรียนรู้ให้มีความสุขและสนุกกับงานที่ทำเพราะฉนั้นการเล่นไม่ได้หมายถึงแค่เล่นของเล่นเล่นดินเล่นทรายเล่นน้ำเท่านั้น
⭐คุณพ่อคุณแม่สามารถทำให้เด็กเกิดความรู้สึกว่างานบ้านเช่นกวาดบ้านถูบ้านล้างจานเลี้ยงน้องเป็นการเล่นได้ทั้งนั้น
⭐การเล่นเชิงบวกต้องมีองค์ประกอบหลักๆ 3 สิ่งคือ
1. เด็ก
2. คนที่เล่นด้วย
3. สิ่งของที่เล่นหรือกิจกรรมที่จะเล่น.
⭐การเล่นเชิงบวกนี้จะก่อให้เกิดประโยชน์ต่างๆมากมายทั้ง
– การรับรู้/เชื่อมโยงเส้นใยประสาท
– ฝึกให้เด็กกล้าแสดงออก
– ฝึกให้เด็กกล้าคิดกล้าทำกล้าลงมือทำเอง
– ฝึกจินตนาการ
– สามารถพัฒนาภาษา
– ฝึกสมาธิ
– ฝึกการแก้ปัญหา
– ทำให้เด็กรู้จักเหตุและผล
– มีความคิดสร้างสรรค์
– มีความสามารถในการเข้าสังคม
– รู้จักกฏกติกา
และอื่นๆอีกมากมาย
⭐เพราะฉนั้นการให้เด็กเล่นโทรศัพท์มือถือ
ไม่ใช่การเล่นที่ก่อให้เกิดประโยชน์นะเจ้าคะ เนื่องจากเป็นการสื่อสารทางเดียว คือ จากตัวเด็กเองไม่มีคนปฏิสัมพันธ์ด้วย……..เด็กน้อยเหงาแย่เลย
วางมือถือสักพัก…….แล้ว….ไปเล่นกับลูกกันนะคะ…..
⭐นอกจากของเล่นแล้ว สถานที่เล่นยังสำคัญเหมือนกันเราควรเปิดโอกาสให้ลูกๆ ได้เล่นนอกบ้านบ้าง
– เพื่อให้เค้าเรียนรู้ธรรมชาติ
– ได้เปิดโลกกว้าง
– เปิดประสาทสัมผัส
– เพื่อจะได้มีความคิดสร้างสรรค์
– เปิดโลกจินตนาการใหม่ๆให้เด็กๆ
โดยผลงานวิจัยพบว่าการให้ลูกได้เล่นนอกบ้านเพียงวันละ 60 นาทีช่วยทำให้เซลล์สมองเด็กพัฒนาได้อย่างรวดเร็ว
⭐และสิ่งสุดท้ายที่สำคัญมากที่สุด คือ เด็กเค้าต้องการคนมาเล่นด้วยและคนที่มีความหมายต่อเค้าก็ คือ คุณพ่อคุณแม่

…..ให้เวลา….มาเล่นกับหนูหน่อยนะคะ….
ไม่ได้แค่เพื่อสร้างสมองแต่เพื่อความรักและความสุขของทุกคนในครอบครัวค่ะ

✖ เด็กอายุต่ำกว่า 2 ปี ไม่ควรใช้โทรศัพท์มือถือหรือดูทีวีหรือ social media ทุกชนิดผลเสียของการให้จอเลี้ยงลูกดูตามนี้เลยค่ะ
ให้‘จอ’ เลี้ยงลูกแทนเราก็ดูเด็กเค้านิ่งดีนี่คะ???? มีสมาธิจดจ่อมากด้วยค่ะ

หมออยากบอกว่าการให้‘จอ’เลี้ยงลูกนั้นจะมีผลต่อพัฒนาการหลายด้าน

⭐ด้านภาษา – พูดช้า
⭐ด้านสังคม – ไม่สนใจคนรอบข้าง, สื่อสารกับคนอื่นลดลง
⭐พฤติกรรม – ซนดื้อต่อต้านก้าวร้าวหงุดหงิดง่ายสมาธิสั้น!!!!!!
⭐สมอง – ระดับการทำงานของสมองลดลง, ความจำไม่ดี, นอนหลับยาก

เล่า
# เล่า
✔ การเล่านิทานคือตัวเชื่อมระหว่างลูกและพ่อแม่
✔ เล่านิทานช่วยกระตุ้นพัฒนาการด้านภาษากล้ามเนื้อมัดเล็ก(การทำงานของมือและตาประสานกัน) ฝึกสมาธิจดจ่อให้ลูกรอคอยฟังเรา
✔ การเล่านิทานช่วยพัฒนาสมองส่วนEF ( Executive Function )

อ่านหนังสือนิทานช่วยพัฒนาอะไรให้ลูก?

⭐พัฒนาสมองEF !!!!! ฟังดูดีและดีจริงค่ะ
เนื่องจากนิทานแต่ละเรื่องจะมีเรื่องราวที่เกิดขึ้นตามแต่ละตัวละครซึ่งแฝงไปด้วยบทแห่งความดี/ไม่ดี วิธีการแก้ไขจินตนาการและช่วยให้ลูกเรียนรู้การตอบสนองทางอารมณ์ในแต่ละสถานการณ์ที่ได้ฟัง

เพียง! คุณพ่อคุณแม่มีปฏิสัมพันธ์กับลูกเพราะหนังสือเป็นเพียงสื่อกลางเท่านั้น!

ถ้าไม่มีการถามตอบชวนคิดชวนตั้งคำถามใดๆ
“การอ่าน….แบบไม่มีปฏิสัมพันธ์กับลูกก็อาจจะไม่ได้ช่วยพัฒนาEF นะเจ้าคะ”

⭐พัฒนาความสามารถทางด้านภาษาเมื่อเด็กได้ฟังมากๆบ่อยๆจะเพิ่มคลังคำศัพท์ของเค้าไปเรื่อยๆ
ปล.เด็กต้องได้ยินซ้ำๆย้ำๆเป็นร้อยครั้งพันครั้งกว่าจะจำและพูดได้
…..เล่านิทานซ้ำๆย้ำๆวนไปจ้ะสนุกทุกคืนแน่นอน…..
⭐พัฒนาสายสัมพันธ์ความรักและเพิ่มมูลค่าในตัวเองให้กับคุณลูก(self esteem) เมื่อลูกได้อยู่ในอ้อมกอดเราทุกวันได้กลิ่นเราได้สัมผัสไปอุ่นคุณพ่อคุณแม่ได้ยินเสียงได้สัมผัสลมหายใจแบบใกล้ๆจากพ่อแม่ลูกเค้าจะมั่นใจค่ะว่ามีคนรักเค้า
จากนั้นลูกจะมั่นใจเองว่าเค้าเป็นเด็กดีมีคนรัก….
⭐พัฒนากล้ามเนื้อมือและตาในการทำงานประสานสัมพันธ์กันเวลาลูกพลิกหนังสือแต่ละหน้าตาเค้าจะมองว่าหน้านี้จบแล้วแล้วมือเค้าก็จะพลิกไปหน้าใหม่
⭐พัฒนาสมาธิเนื่องจากการฟังนิทานเด็กๆต้องมีสมาธิจดจ่อตั้งใจฟังเนื้อเรื่องที่ค่อยๆดำเนินไปทีละหน้าไม่งั้นอาจจะฟังไม่รู้เรื่องคร่า
⭐พัฒนาทักษะการฟังและรอคอยเพราะลูกต้องตั้งใจฟังเราเล่านิทานไปเรื่อยๆเริ่มฝึกการเป็น‘ผู้ฟังที่ดี’ ตั้งแต่เล็กๆ และรอที่คุณพ่อคุณแม่จะอ่านไปทีละหน้าๆ จนลูกหลับปุ๋ย……

อายุเท่าไหร่ควรเริ่มอ่านนิทาน?
“ยิ่งเร็วเท่าไหร่ก็ตามที่เด็กได้รับการส่งเสริมให้รู้จักหนังสือและทำความรู้จักมักคุ้นกับหนังสือสนุกในการฝึกใช้คำและภาษาก็จะเป็นประโยชน์สำหรับเด็กคนนั้นมากขึ้นเท่านั้นเมื่อเข้าสู่วัยเรียนหนังสือ” ปีเตอร์ไบรอันวัตตส์– โปรเฟสเซอร์ด้านจิตวิทยาแห่งมหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด…

สรุปยิ่งเริ่มอ่านเร็วเท่าไหร่ยิ่งดีถ้าเป็นหมอหมอจะเริ่มอ่านตั้งแต่ลูกอยู่ในท้องเลยคร่า

อ่านจากipad หรือE-book ได้มั้ย
หนังสือเป็นเล่มจริงๆเด็กๆจะได้สัมผัสกระดาษแล้วส่งสัญญาณไปที่สมองและจดจำได้ว่าอ่านไปแล้วถึงตรงไหน….สมองได้รับการบริหารตลอด

อ่านหนังสือเวลาไหนดี?
เวลาไหนก็ได้ที่สะดวกค่ะไม่จำเป็นต้องเป็นนิทานก่อนนอน. วันละแค่10-30 นาทีและทำต่อเนื่องให้เป็นกิจวัตรทำซ้ำๆย้ำๆแล้วลูกจะน่ารักขึ้นเรื่อยๆค่ะ
…ขอให้อ่านดีกว่าไม่ได้อ่านเลยเพราะ…ไม่มีเวลา…..

อ่านหนังสือภาษาอะไรดี?
ภาษาอะไรก็ได้ค่ะแล้วแต่เป้าหมายของแต่ละบ้านเพราะคอนเซปไม่ได้อยู่ที่ภาษา
ความสำคัญของการอ่านหนังสือนิทานให้ลูกฟังคือปฏิสัมพันธ์ถามตอบกระตุ้นให้คิดและมันคือ “เวลาคุณภาพ” ของครอบครัว

แล้วจะเลิกอ่านหนังสือนิทานกับลูกได้เมื่อไหร่?
6 ขวบปีแรกเป็นช่วงสมองพัฒนาได้มากที่สุดประมาณ80-90% และพัฒนาได้เรื่อยๆจนถึงอายุ 25 ปี
….แต่หมอว่าวันนึงเด็กเค้าจะบอกเองว่ามามี้ไม่ต้องอ่านให้ฟังแล้วหนูจะอ่านให้ม่ามี้ฟังแทน….แค่นี้มามี้ก็ชื่นใจละ….คำตอบอยู่ที่ลูกค่ะ

เฝ้า
# เฝ้า
✔ พ่อแม่ควรเฝ้าระวังและตรวจพัฒนาการเบื้องต้นลูกได้เองตามแต่ละช่วงวัย
✔ ช่วงอายุที่ต้องพาลูกมาตรวจพัฒนาการกับแพทย์หรือบุคลากรทางสาธารณสุขที่ผ่านการอบรมคือ9 เดือนและ18 เดือน
✔ การตรวจพัฒนาการทุกช่วงวัยอย่างสม่ำเสมอทำให้สามารถตรวจพบว่าเด็กมีพัฒนาการล่าช้าได้ตั้งแต่ระยะแรกเริ่มทำให้เกิดการช่วยเหลือแก้ไขเร็วขึ้นส่งผลให้พัฒนาการได้รับการพัฒนาดีมากขึ้นเท่านั้น
✔ คู่มือเฝ้าระวังและส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย(มีแจกเป็นตารางไปนะคะ)
✔ และเฝ้าระวังเรื่องการติดเชื้อและป้องกันการติดเชื้อโดยพาลูกมารับวัคซีนเสริมสร้างภูมิคุ้มกันโรคตามกําหนด…..วัคซีนหลักลูกทุกคนต้องได้..ส่วนวัคซีนเสริมนั้นแล้วแต่เงินในกระเป๋าเลยจ้า….อย่าน้อยใจไปตอนนี้รัฐบาลไทยเค้ากำลังหางบมาจ่ายค่าวัคซีนเสริมบางตัวให้เด็กๆ อยู่จ้า….รอหน่อยนะคะเด็กๆลุงตู่กำลังดู อิอิ
✔ เฝ้าระวังอุบัติเหตุซึ่งอาจเกิดกับลูกได้เช่นการพลัดตกหกล้มการอุดตันทางเดินหายใจการจมน้ําการบาดเจ็บจากการจราจร
✔ พ่อแม่ควรจัดเก็บอุปกรณ์ต่างๆภายในบ้านให้ปลอดภัยสําหรับเด็ก

ฟัน
# ฟัน
✔ ฟันนั้นสำคัญมากถ้าไม่มีฟันก็เคี้ยวอาหารไม่ได้และถ้าฟันผุก็อาจจะเป็นรังของเชื้อโรคทำให้เกิดภาวะติดเชื้ออื่นๆตามมาได้นะคะ
✔ ควรดูแลสุขภาพช่องปากของหญิงตั้งครรภ์และเด็ก 0-2 ปี
✔ ควรตรวจความสะอาดฟันเด็กและการตรวจฟันผุระยะแรกด้วยตนเองและเน้นวิธีการแปรงฟันในเด็ก 0-2 ปีที่ถูกต้อง
✔ ทารกอายุ 0-6 เดือน ยังไม่มีฟันขึ้น : เช็ดเหงือกลิ้นกระพุ้งแก้มวันละ2 ครั้ง
✔ เด็กมีฟันขึ้น : แปรงฟันตั้งแต่ซี่แรก!
ด้วยยาสีฟันผสมฟลูออไรด์วันละ2 ครั้ง
…..รักลูกต้องแปรงฟันให้ลูกนะคะ…..
✔ สามารถสอนลูกแปรงฟันได้ตั้งแต่อายุ2-3 ปีแต่พ่อแม่ควรช่วยแปรงตามทุกครั้งและควรตรวจดูความสะอาดของช่องปากหลังแปรงฟันลูกทุกครั้ง
✔ เด็กจะมาสามารถแปรงฟันได้ด้วยตัวเองและสะอาดตอนอายุ 7 ปี
✔ ควรพาลูกไปพบทันตแพทย์เมื่อฟันซี่แรกขึ้นเพื่อจะได้รับคำแนะนำและการดูแลช่องปากลูกที่ถูกต้อง
✔ ควรเฝ้าระวังฟันนํ้านมผุในเด็ก 0-2 ปี
…..ถ้าเด็กฟันผุ..จะเคี้ยวอาหารไม่ดีน้ำหนักก็น้อย
…..ถ้าเด็กฟันผุ..มัวแต่ปวดฟันร่างกายหลั่งสารเครียดหรือGlucocorticoid ทำให้มีผลต่อการเจริญเติบโตเด็กอาจเตี้ยไม่สูงสมวัย
…..ถ้าเด็กฟันผุ..เด็กอาจนอนหลับไม่สนิทส่งผลต่อเซลล์ประสาทส่งผลต่อพฤติกรรมและพัฒนาการได้
…..ถ้าเด็กฟันผุ..อาจเป็นจุดเริ่มต้นของการติดเชื้อและกระจายไปอวัยวะต่างๆ ได้

นอน
#นอน
✔ หญิงตั้งครรภ์ควรนอนพักผ่อนให้เพียงพออย่างน้อยวันละประมาณ7–9 ชั่วโมง
✔ กรณีอายุครรภ์ตั้งแต่4 เดือนขึ้นไปควรนอนตะแคงห้ามนอนหงายหรือนอนคว่ำ
✔ การนอนพักผ่อนเพียงพอของลูกคือการที่เด็กมีระยะเวลาการนอนหลับในแต่ละวันตามกลุ่มวัย
……วัยแรกเกิด -3 เดือน ควรนอน 14-17 ชั่วโมง
……วัยทารก (4 เดือน – 1 ปี) ควรนอน 12-15 ชั่วโมง
……วัยเตาะแตะ (1-2 ปี) ควรนอน 11-14 ชั่วโมง
✔ การนอนที่เพียงพอจะทำให้เด็กเจริญเติบโตตามวัยและมีพัฒนาการที่ดี

#ด้วยรักจากหมอมะเหมี่ยว
#Bambini Baby Wellness Center
#คลินิกเด็กหมอมะเหมี่ยว
#คลินิกนมแม่และอยู่ไฟหลังคลอด
#คาเฟ่เด็ก
#ศูนย์พัฒนาการเด็ก
#สตูดิโอถ่ายภาพเด็ก
#สินค้าแม่และเด็ก

Tel. : 0805424656
Id line : @bambinipattaya