fbpx

ลูกเรา จำเป็นต้อง กิน #ยาน้ำเสริมธาตุเหล็ก มั้ย???

👼🏻เด็กอายุ 6-11 เดือน ต้องการธาตุเหล็ก 1.1 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม

🤸‍♂️ผู้ใหญ่ต้องการธาตุเหล็ก 0.2 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม

#เด็กต้องการธาตุเหล็กมากกว่าผู้ใหญ่ 5 เท่าเลย
เด็กเล็ก ต้องการ ธาตุเหล็ก เพื่อการเจริญเติบโต ….
และ กระเพาะเด็ก จุ อาหาร ได้ ไม่มาก
อาหาร จากสัตว์ ( ตับ เลือด ) มีธาตุเหล็กสูง ที่ร่างกายดูดซึมดีกว่า จากพืช !!
(จากสัตว์ดูดซึมได้ 20-30% จากพืชได้ 3-5 % ที่กินเข้าไป )
ทั้งนี้ เด็ก ไทย พบภาวะ #ขาดธาตุเหล็ก 15-20 %
จึงมีนโยบาย ให้ ธาตุเหล็กเสริม
…..เนื่องจาก การขาดธาตุเหล็ก สงผลต่อ ไอคิว ของเด็ก ได้ ( จากการศึกษา ไอคิวเด็ก ลดลง 12.5 จุด เทียบกับเด็กที่ไม่ขาด)
(ลูกเรา อาจจะไม่ใช่ 20 % นั้นก็ได้ ) …ถ้ากินอาหาร ครบ 5 หมู่ และ ปริมาณ ธาตุเหล็กเพียงพอ จาก #อาหาร
การตรวจ ดู หน้าตา เยื่อบุตา ว่า ซีดมั้ย จะช้าไป
ตอนนี้ เลย เป็น นโยบายให้ ตรวจคัดกรอง การขาดธาตุเหล็ก โดย เจาะ ดู ความเข้มข้นเลือด ที่ อายุ 9-12 เดือน 1 ครั้ง
กรณี ห้ามกินธาตุเหล็ก คือ เด็กเป็น #โรคทาลัสซีเมีย
ดังนั้น ครอบครัวไหนมีความเสี่ยง ควรปรึกษาแพทย์ ก่อน รับประทานยาน้ำเสริมธาตุเหล็ก
การกินอาหารที่มีธาตุเหล็กสูง ทุกวัน ….. กรณี เป็นอาหารธรรมชาติ ไม่ใช่ วิตามินสังเคราะห์ ไม่ต้องกังวลเรื่อง ธาตุเหล็กเกิน ร่างกายสามารถกำจัดส่วนเกินออกไปได้
กรณี ที่ต้องระวัง คือ เด็กนำยาน้ำเสริมธาตุเหล็ก ไปกินเล่น เกินขนาดที่แพทย์สั่ง จะทำให้ มีภาวะ #พิษจากธาตุเหล็กได้
🌈อาการของ #ธาตุเหล็กเกิน ( Iron Intoxication)
👉ปวดท้องรุนแรง คลื่นไส้ อาเจียนรุนแรงจนอาจมีเลือดออกได้
👉และถ้ากินปริมาณมากกว่าที่แพทย์สั่งหลายเท่าจะเป็นพิษต่อร่างกาย ทำให้หมดสติ โคม่า ชัก ความดันต่ำ ช็อค ตับวาย ตาและตัวเหลือง เลือดออก ไตวายและเสียชีวิตได้
❗️ข้อควรระวัง ต้องเก็บยาธาตุเหล็กในที่มิดชิด ปลอดภัย ไม่ให้เด็กหรือลูกเข้าถึงและหยิบกินยาเองได้
🌈ลูกเรา จำเป็น ต้องได้รับยาน้ำเสริมธาตุเหล็ก มั้ย??? (หลังอายุ 6 เดือน)
👉ถ้ากินนมผง ; มักมีการเติมธาตุเหล็ก ในนมผง อยู่แล้ว …
แต่ การดูดซึมอาจจะไม่ดีมาก …ควรรับประทานอาหาร ครบ 5 หมู่ และ อาหารที่มีธาตุเหล็กสูง อย่างน้อย สัปดาห์ละ 3 ครั้ง
👉ถ้ากินนมแม่ ; หลัง 6 เดือน นมแม่มีธาตุเหล็กลดลง และเด็กยังต้องการธาตุเหล็ก เพิ่มอีก
ดังนั้น ….ถ้าคิดว่า กินจากอาหารพอ ( กินตับ ได้ อย่างน้อย ครั้งละ 1 ช้อนโต๊ะ 3 ครั้ง/สัปดาห์) อาจจะไม่ต้องเสริม ….ถ้าไม่แน่ใจเรื่องอาหาร ลูกกินยาก กินบ้างไม่กินบ้าง สามารถ รับยาน้ำ #เสริมธาตุเหล็กได้
🌈 การเจาะเลือด เพื่อคัดกรอง #ภาวะซีดจากการขาดธาตุเหล็ก
👉แนะนำ เจาะที่ 9-12 เดือน
….เด็กวัย 6 เดือน -5 ปี ใช้เกณฑ์
ฮีโมโกลบิน(กรัม/เดซิลิตร) น้อยกว่า 11
และ ฮีมาโตคริต (%) น้อยกว่า 33
🙏สรุป มากมายดังข้างต้น #แนะนำปรึกษาแพทย์ประจำตัวลูก ว่า ลูกควรได้รับยาเสริมมั้ย …มิได้ให้ซื้อยากินเอง
เพราะ #ปัจจัย เช่น โรคทาลัสซีเมีย การคลอดก่อนกำหนด การรับประทานอาหาร การเจริญเติบโต และพัฒนาการ ของเด็กแต่ละคน #แตกต่างกัน
หมอมะเหมี่ยว ให้ได้แค่ข้อมูลกว้างๆ
‘ไม่ได้บอกว่า ทุกคนต้องกินยาน้ำเสริมธาตุเหล็ก ‘
ยกตัวอย่างของทับทิม
หมอจะให้ยาน้ำเสริมธาตุเหล็ก วันที่ไม่ได้ ทานเมนู ตับ/เลือด …
และ แพลน ว่า จะเจาะเลือด สักครั้ง ในช่วง 9-12 เดือน
ทับทิม มีแม่เป็นพาหะทาลัสซีเมีย พ่อปกติ ความเสี่ยงในการเป็น #โรคทาลัสซีเมีย ไม่มี เป็นเต็มที่ คือ เป็น พาหะทาลัสซีเมีย เหมือนแม่ ดังนั้น กินยาน้ำเสริมธาตุเหล็กได้ ไม่กังวล
👉👉ใครสายวิชาการ ….อ่านข้อมูล ตามภาพกราฟฟิก ใต้เม้น นะคะ
👉👉ชี้เป้า ชุดกันเปื้อน BIBaDo Thailand จากร้าน Rocking Kids Thailand

❤️รักนะ เลยมาบอก
จาก หมอมะเหมี่ยว
หมอเด็ก / แม่ลูกอ่อนนอนเยอะ
อ้างอิง คู่มือแนวทางการควบคุมและป้องกันโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก http://doh.hpc.go.th/data/mch/IDAControl.pdf
และ กรมอนามัย สำนักโภชนาการ กระทรวงสาธารณสุข