fbpx

เมื่อไหร่ควรใช้จุกหลอก??
😊ลูกติดดูดจุกหลอก มีผลเสียยังไง? เลิกยังไงดี?
ช่วงแรกเกิดใหม่ๆ เด็กบางคน งอแงมาก ร้องไห้ ตลอด แม่/คนเลี้ยงต้องให้กินนม ถึงจะหยุดร้อง ….แต่ถ้าเด็กกินมาก จะอึดอัดแน่นท้อง ไม่สบายตัว แหวะนม อาเจียน มีเสียงครืดคราด นอนไม่ได้!!! …ยิ่งร้องอีก
……วิธีแก้คือ เช่น อุ้ม พาเดินเล่นนอกบ้าน ให้ยาขับลม >>>> ทำหลากหลายแล้ว ไม่ดี >>>ลองใช้ #จุกหลอก
ช่วง 2 เดือนแรก ทับทิมกิน ถี่มาก ทุก 1 ชั่วโมงครึ่ง-2 ชั่วโมง ….น้ำหนักก็พุ่งดี …แหวะบ้างบางครั้ง
แม่ไม่สบายใจ กลัว over feeding ซื้อจุกหลอกอย่างดีมาให้ลูก
….วันแรก ลูกทำท่าจะอ้วกจุกหลอก
แม่ก็ พยายาม ให้ลูกดูดต่ออีก สัก 3 วัน
ลูกทำท่าจะอ้วกทุกครั้ง !!!
แม่เลยว่า ….ลูกช้านคงไม่ชอบของแบบนี้แหละ
ปาดน้ำตาเบาๆ กับ ค่าจุกหลอก 😅
(ในรูป ทับทิม ถือยางกัด ของชอบ เพราะ จุกหลอกไม่ใช่ทางของเธอ)
🌈🌈เมื่อไหร่ควรใช้ จุกหลอก 🌈🌈
👉 ถ้าพบว่าลูกดูดเต้าเก่ง/กินตามปริมาณ(กรณีนมผง )/ และน้ำหนักขึ้นแบบ overfeeding เกิน 35 กรัม/วัน
…..แล้ว #ร้องกินตลอด เช่น ลูกทำท่าขยับปาก ทำท่าซุกไซร้หาเต้าหรือดูดมือตลอดเวลา อุ้มกล่อม โยก ทำทุกอย่างแล้ว ยังงอแง
(ลูกได้รับนมเพียงพอ คือ อึมากกว่า 2 ครั้ง/วัน
ฉี่มากกว่า 6 ครั้ง/วัน ปกติน้ำหนักตัวทารก 3 เดือนแรก จะขึ้น 20-30 กรัมต่อวัน )

🌈🌈ประโยชน์ของการใช้จุกหลอก🌈🌈
👉ลดความเสี่ยงต่อ ภาวะไหลตาย sudden infant death syndrome (SIDS)
👉ช่วยให้เด็กผ่อนคลาย
👉ช่วยกล่อมลูกนอน

🌈🌈ผลเสีย ของการใช้ #จุกหลอก 🌈🌈
👉 การดูดจุกหลอก อาจทำให้ทารก #หยุดดื่มนมแม่จากเต้า ภายใน 3 เดือนแรก
แต่ถ้า #ลูกดูดนมจากเต้า ได้ดีตั้งแต่ในช่วง 1 เดือนแรก การใช้จุกหลอกก็ไม่ได้ส่งผลต่อการดื่มนมจากเต้าแม่
👉ทำให้การ #สบฟันผิดปกติ (malocclusion)
…..จากการศึกษา พบว่า เด็กที่มีการดูดจุกหลอกหรือดูดนิ้ว ‘นานเกินกว่า 4 ปี’
พบปัญหาการสบฟันผิดปกติ 71%,
……ถ้าหยุดดูดนิ้วหลัง 3 ปี พบปัญหาการสบฟัน 32%
……แต่หากหยุดดูดก่อนอายุ 2 ปี โอกาสการเกิดปัญหาการสบฟันลดลงเหลือ 14% เท่านั้น
👉เพิ่มโอกาสเกิด #หูชั้นกลางอักเสบ (Otitis media) ได้สูง
……..การดูดจุกหลอกทำให้มีการทำงานที่ผิดปกติของ Eustachian tube (ท่อปรับความดันหูชั้นกลาง) ร่วมกับการมีการไหลย้อนของสารคัดหลังบริเวณหลังโพรงจมูกเข้าสู่หูชั้นกลาง ซึ่งเรามักพบปัญหานี้ได้บ่อยในเด็กช่วงอายุ 6-12 เดือน

🌈🌈วิธีเลิกจุกหลอก🌈🌈
‘ไม่ดุด่า ไม่บังคับ แต่ฝึกสม่ำเสมอ ค่อยๆฝึกได้ ‘
💕เลิกตอนเด็กเล็กง่ายกว่าตอนโตนะคะ
…..
#เด็กเล็ก เราแค่ เบี่ยงเบน ความสนใจ ชวนเล่นไม่ให้เด็กเหงา/เครียด หาของเล่นมาให้เค้าเพลิดเพลินแทนจุกหลอก
.
เด็กเล็กบางคน ติดดูดนิ้ว/ดูดจุกหลอกเพื่อกล่อมตัวเองนอน แนะนำใช่ การกล่อมวิธีอื่นแทน เช่น อุ้มโยก ไกวเปล , หรือหาของแทนจุก มาแทนใจให้ลูก เช่น ตุ๊กตา หรือผ้านิ่มๆ
…..
#เด็กโต รู้เรื่องแล้ว ให้ชื่นชม เมื่อไม่ใช้ จุกหลอก ให้ดาว ทำ Star chart ,เล่านิทาน เรื่องเกี่ยวกับการเลิกจุก , ทำพิธี บ๊ายบายจุก

🌈🌈ไม่ควรใช้จุกหลอกนานเกิน เมื่อไหร่??🌈🌈
ควรใช้ ไม่เกิน ช่วงอายุ 6 เดือนคร่า
🌈คำแนะนำจาก AAP, AAPD และ ADA เรื่องการใช้จุกหลอก และการดูดจุก
👶 ทารกที่คลอด #ก่อนกำหนด สามารถใช้จุกหลอก เพื่อลดอาการปวดในขณะทำหัตถการทางการแพทย์ ลดระยะเวลาการนอนรพ. และทำให้เปลี่ยนเป็นการดูดนมขวดได้เร็วขึ้น
👶 สำหรับเด็กทารก #คลอดครบกำหนด ที่ดูดนมจากเต้า แนะนำให้มีการสร้างทักษะการให้นมแม่จากเต้าของแม่และการดูดนมของลูกให้ดี โดยเฉพาะในช่วง 1 เดือนแรก
……ผู้ปกครองสามารถใช้จุกหลอกได้หลังจากนี้จนถึงอายุ 6 เดือน สำหรับการลดปวด และลดการเกิดภาวะไหลตายในทารก
👶 ในช่วงอายุ 6 เดือน ถึง 2 ปี แนะนำให้
#หยุดหรือให้ดูดจุกหลอกให้น้อยที่สุด
เพื่อลดโอกาสการติดเชื้อในหูชั้นกลาง
👶 หากยังดูดต่อเนื่องจนอายุมากกว่า 2 ปีขึ้นไป การดูดจุกหลอกมีโอกาส #เกิดปัญหาการสบฟันที่ผิดปกติได้
❌เด็กอายุ 4 ปีขึ้นไป ไม่ควรใช้จุกหลอก หรือ ดูดจุกนมแล้ว

❤️มะเหมี่ยวเอง
หมอเด็ก / แม่ลูกอ่อนนอนเยอะ