ทำไม #ลูกหวงของ / ไม่ชอบแบ่งใคร
การสอนลูกให้ #แบ่งปัน …ทำได้ ไม่ยาก แค่ใช้เวลา
สำหรับเด็กอายุต่ำกว่า 6 ขวบ การแบ่งปันเป็น เห็นอกเห็นใจ เอาใจเขามาใส่ใจเราได้ (คิดเชิงนามธรรมได้ ) เป็นเรื่องที่อาจจะยัง #ไม่สามารถทำได้ เพราะสมองเขายังไม่สามารถพัฒนาไปถึงขั้นนั้น แต่บางคนอาจจะทำได้เพราะแม่สั่ง หรือแม่ให้เงื่อนไขกับเขาเพื่อให้เขาแบ่งปัน
ดังนั้นเรา #ไม่ควรคาดหวัง ให้เด็กที่อายุน้อยกว่า 2-3 ปี ยอมแบ่งปันของ
เพราะวัยนี้ ยัง #เล่นด้วยกันไม่เป็น มักจะเล่นข้างๆ กันเฉยๆ มองกัน
แต่ไม่เล่นด้วยกัน #เขายังสนใจแต่ตัวเองและของๆตัวเอง และยัง #ไม่รู้จักคิดว่าเด็กคนอื่นจะคิดหรือรู้สึกยังไง
ช่วงวัยก่อน 6 ปี ถ้าลูกเรา #หวงของ ก็เป็น เรื่องธรรมชาติค่ะ.
การที่คุณแม่คุณพ่อค่อยๆ สอน ค่อยๆ บอก ค่อยๆ ทำให้ดู เด็กก็จะ ฝึกแบ่งปันได้เร็วขึ้น
เริ่มต้นง่ายๆ จากพ่อแม่ นั่งเล่นกับลูก
ผลัดกันเล่น …สอนให้รู้จักรอคอยคิวของตัวเอง
เด็ก ก็จะเริ่มเข้าใจ ว่า เวลานี้ เค้าต้องรอยังเล่นไม่ได้
ไม่ต้องเร่งรัดกดดันเด็ก ฝึกแบบนี้บ่อยๆ เด็ก จะเริ่มเข้าใจ ว่า มีทั้งคิวเค้า และ คิวคนอื่น
กับสิ่งของก็เช่นกัน
วิธีฝึกลูกให้ ‘แบ่งของเล่นกับคนอื่น ‘
#เตรียมลูกก่อนเจอสถานการณ์จริง เช่น เรากำลังจะไปสนามเด็กเล่น ที่นั่นมีเพื่อน/น้อง/พี่ หลายคนเลย ทุกคนอาจจะอยากมาเล่นกับลูก และ ขอยืมของลูกไปเล่นนะคะ
…ถ้า #เพื่อนขอเล่นของเล่นหนู ลูกให้เพื่อนยืมได้ ก็ให้เพื่อนยืมนะคะ เพื่อนเล่นเสร็จแล้ว เราก็จะเอาของกลับบ้านเหมือนเดิม (เด็กจะได้รู้ว่าของเค้าไม่ได้หายไปไหน)
…..หรือถ้า #ลูกอยากเล่นของเพื่อน : ลูกพูดขออนุญาตเพื่อนก่อนนะคะ ส่วนถ้าเพื่อนไม่ให้ก็ไม่เป็นไรนะคะ เพราะ เพื่อนอาจจะอยากเล่นอยู่ ถ้าอยากจะเล่นก็ต้อง #คอย ถ้าเพื่อนไม่ให้ก็ไม่เป็นไรนะคะ เพราะว่ามันเป็นของเพื่อน
(สอนลูกให้รู้จักสิทธิของตนเอง และ สิทธิของผู้อื่น และ รู้จักรอคอย)
……ถ้าเพื่อนแย่งของหนู แล้วลูกไม่อยากให้ พ่อแม่ #ไม่ควรบังคับ ให้ลูกให้ถ้าลูกไม่เต็มใจ เพราะ ว่า เด็กเค้ามีสิทธิในของชิ้นนั้น และเด็กมีสิทธิที่จะปฏิเสธได้
ในทุกพฤติกรรมที่อยากให้ลูกทำ
‘พ่อแม่ควรทำให้ดูเป็นตัวอย่าง’
เช่น “แม่แบ่งอาหารแม่ให้พ่อด้วยนะ” , “แม่แบ่งขนมให้หนูนะคะ”
บอกลูกเรื่อ #กติกาในการเล่นกับ ผู้อื่น …ว่า
ห้ามทำลายข้าวของ
ห้ามทำร้ายคนอื่น
ห้ามทำร้ายตนเอง
ถ้าเกิด เหตุการณ์พวกนี้ แล้ว แปลว่า หนูไม่พร้อมที่จะเล่นกับคนอื่น แม่ต้องพาลูกกลับนะคะ
หลังจาก ซ้อม สถานการณ์ที่บ้านแล้ว ก็ลุย สถานที่จริงได้เลยค่ะ
เมื่อวันจริงมาถึง ถ้า เกิดเหตุการณ์ ไม่พึงประสงค์ขึ้น ผู้ใหญ่ไม่ควรทำท่าทีต่อว่าลูก /ดุ ลูกต่อหน้าคนอื่น เพราะเด็กก็อายเป็นเหมือนกันจ้า ควรถามลูกซ้ำอีกรอบ ว่า อยากได้ของเล่นเพื่อนต้องทำไงดีจ้ะ ? …..ขอหรือเปล่าน้า? ….ให้สัญญาณบอกใบ้ลูกนิดนึง ว่าที่ตกลงกันว่าไงน้า
….เหมือนพักลูกให้ตั้งสติ นึกก่อน ….
เมื่อลูกทำได้ >>>>รีบชมลูกทันที เช่น
#ถ้าลูกขอแบ่งของเล่นจากเพื่อน ให้แม่ชมลูก เช่น แม่ดีใจมากเลยที่หนูรู้จักเคารพสิทธิของเพื่อน ขอเพื่อนก่อนเล่น
#ถ้าลูกสามารถแบ่งของเล่นให้เพื่อนได้ ให้แม่ชมลูก เช่น แม่ภูมิใจมากเลยที่หนูมีน้ำใจแบ่งของให้เพื่อนเล่น
การชมลูก ควรชมที่ #พฤติกรรมที่ดีของลูกว่า เค้าทำอะไร เราถึงรู้สึก….(ภูมิใจ ปลื้มใจ ดีใจ) ไม่ใช่ว่า ทำอะไร ก็พูดแต่ว่าเก่งๆ ดีๆ (เด็กอาจจะเห็นภาพไม่ชัดค่ะ )
พฤติกรรมที่ไม่ดีถ้าไม่ได้รับการตอบสนองหรือให้ความสนใจ พฤติกรรมนั้นจะค่อยๆจางหายไป
พฤติกรรมดี ที่ได้รับความสนใจ และคำชม จะค่อยๆ เพิ่มให้เห็นเด่นชัด
ไม่ว่า จะเป็นวันไหนๆ เราก็รักลูกทุกวัน แต่ บางเรื่องก็ต้องฝึกกันเยอะ #รักมาก #วินัยก็ต้องมากด้วยนะคะ
ด้วยรักจากหมอมะเหมี่ยว
หมอเด็ก / แม่น้องทับทิม