พาลูก #อ่านหนังสือนิทาน ดียังไง?
พัฒนาสมอง EF
เนื่องจาก นิทานแต่ละเรื่อง จะมีเรื่องราวที่เกิดขึ้นตามแต่ละตัวละคร ซึ่ง แฝงไปด้วยบท แห่ง ความดี/ไม่ดี วิธีการแก้ไขจินตนาการ และช่วยให้ลูกเรียนรู้การตอบสนองทางอารมณ์ในแต่ละสถานการณ์ที่ได้ฟัง
.
เทคนิคเพิ่มการพัฒนาสมอง: คุณพ่อคุณแม่ มีการถาม/ ตอบ ชวนคิด ชวนตั้งคำถาม
พัฒนาความสามารถทางด้านภาษา เมื่อเด็กได้ฟังมากๆ บ่อยๆ จะเพิ่ม คลังคำศัพท์ของเค้าไปเรื่อยๆ
ปล.เด็ก ต้องได้ ยินซ้ำๆ ย้ำๆ เป็นร้อย ครั้งพันครั้ง กว่า จะจำและพูดได้
…..เล่านิทาน ซ้ำๆ ย้ำๆ วนไปจ้ะ สนุกทุกคืน แน่นอน …..
พัฒนาสายสัมพันธ์ความรัก และ เพิ่มมูลค่าในตัวเองให้กับคุณลูก (self esteem) เมื่อ ลูกได้อยู่ในอ้อมกอดเรา ทุกวัน ได้กลิ่นเรา ได้สัมผัสไปอุ่นคุณพ่อคุณแม่ ได้ยินเสียง ได้สัมผัสลมหายใจแบบใกล้ๆ จากพ่อแม่ ลูกเค้าจะมั่นใจค่ะ ว่ามีคนรักเค้า
จากนั้นลูกจะมั่นใจเองว่าเค้าเป็นเด็กดีมีคนรัก ….
พัฒนากล้ามเนื้อมือและตาในการทำงานประสานสัมพันธ์กัน เวลาลูกพลิกหนังสือแต่ละหน้า ตาเค้าจะมองว่าหน้านี้จบแล้ว แล้วมือเค้า ก็จะพลิกไปหน้าใหม่
พัฒนาสมาธิ เนื่องจากการฟังนิทาน เด็กๆ ต้องมีสมาธิจดจ่อตั้งใจฟัง เนื้อเรื่องที่ค่อยๆ ดำเนินไปทีละหน้า ไม่งั้นอาจจะฟังไม่รู้เรื่องคร่า
พัฒนาทักษะการฟังและรอคอย เพราะ ลูกต้องตั้งใจฟังเราเล่านิทานไปเรื่อยๆ เริ่ม ฝึกการเป็น ‘ผู้ฟังที่ดี’ ตั้งแต่เล็กๆ และ รอที่คุณพ่อคุณแม่จะอ่านไปทีละหน้าๆ จนลูกหลับปุ๋ย……
อายุ เท่าไหร่ ควรเริ่มอ่านนิทาน ?
“ยิ่งเร็วเท่าไหร่ก็ตามที่เด็กได้รับการส่งเสริมให้รู้จักหนังสือและทำความรู้จักมักคุ้นกับหนังสือ สนุกในการฝึกใช้คำและภาษา ก็จะเป็นประโยชน์สำหรับเด็กคนนั้นมากขึ้นเท่านั้นเมื่อเข้าสู่วัยเรียนหนังสือ”
ปีเตอร์ ไบรอัน วัตตส์ – โปรเฟสเซอร์ด้านจิตวิทยา แห่งมหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด…
.
สรุป ยิ่งเริ่มอ่านเร็วเท่าไหร่ยิ่งดี สำหรับหมอเอง หมอเริ่มอ่านตั้งแต่ ลูกอยู่ในท้องเลยคร่า
อ่านจาก ipad หรือ E-book ได้มั้ย
หนังสือเป็นเล่มจริงๆ เด็กๆ จะได้สัมผัสกระดาษ แล้วส่งสัญญาณไปที่สมองและจดจำได้ว่าอ่านไปแล้วถึงตรงไหน ….สมองได้รับการบริหารตลอด
อ่านหนังสือ เวลาไหนดี?
เวลาไหนก็ได้ ที่สะดวกค่ะ ไม่จำเป็นต้องเป็นนิทานก่อนนอน. วันละ แค่ 30 นาที ทำต่อเนื่อง ให้เป็นกิจวัตร ทำซ้ำๆย้ำๆ แล้วลูก จะน่ารักขึ้นเรื่อยๆค่ะ
…ขอให้ อ่านดีกว่า ไม่ได้อ่านเลย เพราะ ..ไม่มีเวลา…..
อ่านหนังสือ ภาษาอะไรดี?
ภาษาอะไรก็ได้ค่ะ แล้วแต่ เป้าหมายของแต่ละบ้าน เพราะ คอนเซปไม่ได้อยู่ที่ภาษา
ความสำคัญ ของการอ่านหนังสือนิทานให้ลูกฟัง คือ ปฏิสัมพันธ์ ถามตอบ กระตุ้นให้คิด และ มันคือ ‘เวลาคุณภาพ ‘ ของครอบครัว
แล้ว จะเลิกอ่านหนังสือนิทานกับลูกได้เมื่อไหร่?
6 ขวบปีแรก เป็น ช่วงสมอง พัฒนา ได้มากที่สุด ประมาณ 80-90% และพัฒนาได้เรื่อยๆ จนถึงอายุ 25 ปี …บ้านเรา กะว่า จะอ่านนิทานกับลูกไปเรื่อยๆ จนลูกบอกว่า ไม่เอาแล้ว
#ด้วยรักจากหมอมะเหมี่ยว
แพทย์หญิงสุทธิชา อู่เงิน
กุมารแพทย์ประจำ Bambini Baby Wellness Center